?? อาการ โคลิค ในเด็กเกิดจากอะไร ??


"อาการโคลิคจะเกิดกับเด็กแรกเกิด ไปจนถึงอายุประมาณ 3-4 เดือน เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ปวดท้องร้องสามเดือน"

หลายคนคงเคยเห็นเด็กทารกร้องไห้ติดต่อกันเป็นเวลานานโดยไม่ทราบสาเหตุ อาการนี้ทางการแพทย์เรียกว่า โคลิค (colic) สาเหตุของอาการโคลิคเกิดจากอะไร และจะเกิดกับเด็กทารกทุกคนหรือไม่

แพทย์หญิงรัตโนทัย พลับรู้การกุมารแพทย์สถาับันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี อธิบายว่าอาการโคลิคที่เกิดกับเด็กทารกนั้นยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอน โดยทั่วไปโคลิคเป็นอาการที่พบในเด็กทารกเป็นส่วนใหญ่ อาการโคลิคจะเกิดกับเด็กแรกเกิดไปจนถึงอายุประมาณ 3-4 เดือน เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ปวดท้องร้องสามเดือน โดยเด็กจะมีอาการร้องไห้ไม่หยุด ส่วนใหญ่เป็นในช่วงเย็นจนถึงค่ำต่อเนื่องไปจนถึงดึก เด็กจะมีอาการคล้ายปวดท้อง เด็กจะร้องแบบเอาเป็นเอาตาย ขาทั้งสองหงิกงอ และหดเกร็ง ร้องจนหน้าแดง และร้องติดต่อกัน 2-3 ชั่วโมง

สัปดาห์หนึ่งอาจจะร้องไห้เกือบทุกวัน บางครั้งก็ร้อ 3 วันในหนึ่งสัปดาห์ เด็กกลุ่มนี้จะทำให้พ่อแม่วิตกกังวลมาก ซึ่งสาเหตุที่แท้จริงของการโคลิคยังไม่ทราบแน่ชัด แต่มีข้อสันนิฐานว่าอาจจะเกิดจากสาเหตุ 3 ประการคือ สาเหตุที่ี 1 อาจจะเกิดจากการที่เด็กรับประทานอิ่มเกินไป เช่น เด็กบางคนดื่มนมเยอะ พอตกเย็นก็เกิดอาการแน่นท้อง ปวดท้อง สาเหตุที่ 2 อาจจะเกิดจากการแพ้นมวัวแต่ก็พบว่าไม่เป็นความจริง เพราะว่าในเด็กที่ดื่มนมแม่ก็มีปัญหาการเกิดอาการโคลิค เ่ช่นกัน สาเหตุที่ 3 อาจเกิดจากความผิดปกติของลำไส้เนื่องจากลำไส้ของเด็กทารกอาจจะทำงานยังไม่สมบูรณ์ ดังนั้น การที่จะบอกว่าอาการโคลิคเกิดจากสาเหตุใดนั้นก็ยังไม่สามารถสรุปได้อย่างชัดเจน เมื่อพ่อแม่ที่ประสบปัญหามาปรึกษาแพทย์ ส่วนใหญ่แพทย์จะถามอาการและการตรวจร่างกายเพื่อดูว่าระบบต่างๆ ในร่างกายเด็กทำงานผิดปกติหรือไม่ ถ้าไม่มีอะไรผิดปกติแพทย์ก็จะให้คำปรึกษากับพ่อแม่ เช่นต้องตอบสนองต่อเด็กให้เหมาะสม เป็นต้น เพื่อช่วยให้เด็กกลุ่มนี้มีอาการดีขึ้น


  1. อุ้มเด็กอยู่กับเราเสมอ โยกตัวเด็กให้เคลื่อนไหวไปพร้อมกับตัวเราอาจช่วยให้เด็กหยุดร้องไห้
  2. ลองอุ้มเคลื่อนไหวเด็กอย่างเป็นจังหวะหรือเต้นตามเสียงเพลง
  3. ให้เด็กสวมเสื้อผ้าที่แห้งไม่อับชื้น
  4. ให้เด็กอยู่เงียบๆ ในห้องที่ทำให้รู้สึกสบาย
  5. วางเด็กนั่งลงบนตัก ลักษณะคว่ำแล้วลูบหลังเบาๆ
  6. ห่อตัวเด็กด้วยผ้าห่ม เพื่อทำให้อบอุ่น สบาย และรู้สึกปลอดภัย

เหล่านี้เป็นวิธีที่ช่วยลดอาการโคลิคในเด็กได้