สถานการณ์การใช้พลังงานในปัจจุบันที่เพิ่มสูงขึ้น ทั้งในส่วนของประชาชนและภาคธุรกิจ โดยเฉพาะอาคารธุรกิจและพาณิชย์ เช่น โรงแรม โรงพยาบาล ศูนย์การค้า และศูนย์อาหาร สำนักงาน ฯลฯ มีการใช้พลังงานค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับการใช้พลังงานรวมของประเทศหลายๆ อาคารจึงหามาตรการหรือวิธีการต่างๆ ที่จะลดการใช้พลังงานเพื่อประหยัดการใช้พลังงานของประเทศและลดต้นทุนค่าใช้จ่าย อีกทั้งยังเป็นการช่วยแก้ปัญหาโลกร้อนอีกทางหนึ่งด้วย

กระทรวงพลังงาน โดย กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ได้จัดให้มีการเยี่ยมชมตัวอย่างอาคารอนุรักษ์พลังงานแบบมีส่วนร่วมที่ประสบผลสำเร็จ ซึ่งมีจุดเด่นในการอนุรักษ์พลังงานต่างกัน แต่ประสบความสำเร็จในการอนุรักษ์พลังงานเช่นเดียวกัน



ปัจจุบันโรงพยาบาลมีจำนวนผู้ป่วยในที่เข้ามาพักรักษาในโรงพยาบาลเฉลี่ยที่ 7,000 เตียง/วัน/เดือน จำนวนผู้ป่วยนอกเฉลี่ย 42,500 คน/เดือน ในแต่ละปี โรงพยาบาลจะมีการใช้พลังงานไฟฟ้า 11,458,000 kWh เทียบเท่าพลังงานความร้อน 41,248,800 MJ/ปี คิดเป็นค่าใช้จ่าย 34,670,543 บาท/ปี

การใช้พลังงานของโรงพยาบาลแบ่งออกเป็นสามระบบ ได้แก่ ระบบปรับอากาศ ระบบแสงสว่าง และระบบอื่นๆ โดยที่การใช้พลังงานในระบบปรับอากาศจะมีสัดส่วนสูงที่สุดถึง 69% รองลงมาเป็นระบบอื่นๆ 20% และระบบแสงสว่าง 11%

เข้าร่วมโครงการหวังผลด้านกิจกรรมและเทคนิควิศวกรรม

กระตุ้นให้พนักงานจัดกิจกรรมด้านอนุรักษ์พลังงานอย่างต่อเนื่อง เช่น การจัดอบรมให้พนักงานมีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องของการประหยัดพลังงาน รณรงค์ใช้บันไดแทนลิฟต์ ปิดแอร์ตอนพักเที่ยง และก่อนเลิกงาน 15 นาที ปิดจอคอมพิวเตอร์เวลาที่ไม่ได้ใช้งาน

ดำเนินกิจกรรมด้านพลังงานต่อเนื่อง สร้างจิตสำนึกการมีส่วนร่วมแก่พนักงาน

จัดกิจกรรมการฝึกอบรมให้พนักงาน 5 ครั้ง ตลอด 5 เดือน โดยมีการรณรงค์ผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ข่าวสารเกี่ยวกับการประหยัดพลังงานให้แก่ประชาชน และผู้มารับบริการ มีการจัดทำสติกเกอร์ มีการจัด "กิจกรรม 10 นาทีสร้างสรรค์" เปิดโอกาสให้หัวหน้างานกับลูกน้องได้มีการพูดคุยกันถึงปัญหาต่างๆ เป็นต้น มีการแบ่งทีมบริหารออกเป็นสองระดับ คือ ระดับบริหาร มีประธานโครงการอนุรักษ์พลังงาน และระดับปฏิบัติการ โดยให้ผู้จัดการทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมในระดับนโยบาย และนำนโยบายนั้นไปกระจายสู่หน่วยงาน ทำให้การดำเนินการจัดการด้านพลังงานของโรงพยาบาลทั่วถึงทั้งองค์กร และมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง

เผยเทคนิควิศวกรรม จัดการพลังงาน 8 ขั้นตอน

  1. การกำหนดโครงสร้างการจัดการพลังงาน
  2. มีการทบทวนสถานะเบื้องต้น
  3. มีการกำหนดนโยบายและการประชาสัมพันธ์
  4. มีการประเมินศักยภาพทางเทคนิคและการฝึกอบรม
  5. มีการกำหนดมาตรการ เป้าหมาย และผลตอบแทนทางการเงิน
  6. มีการจัดทำแผนปฏิบัติงาน
  7. มีการดำเนินการตามแผน
  8. มีการทบทวนผลการดำเนินงาน

 

1 | 2