กระเพาะปัสสาวะไวเกิน (OAB)
คุณเคยเป็นอย่างนี้หรือไม่?

-
ปัสสาวะบ่อยจนไม่เป็นอันทำงาน
-
ระหว่างขับรถต้องแวะเข้าปั๊ม
-
ปวดปัสสาวะแทบวิ่งเข้าห้องน้ำไม่ทัน
-
ถ้ามี...คุณควรอ่านเรื่องราวต่อไปนี้
ในคนปกติเมื่อกระเพาะปัสสาวะมีปัสสาวะ 100 ซี.ซี. เราจะรับรู้ความรู้สึกได้ แต่ยังไม่ปวดจนต้องไปปัสสาวะ รอจนปัสสาวะเต็มความจุของกระเพาะปัสสาวะแล้วเราจึงรู้สึกปวดเต็มที่สมองจะสั่งการให้หาที่เหมาะสม เพื่อถ่ายปัสสาวะโดยการสั่งการให้หูรูดกระเพาะปัสสาวะเปิด ในภาวะปกติสมองจะควบคุมกระเพาะปัสสาวะ และหูรูดให้ทำงานสัมพันธ์กัน
ภาวะกระเพาะปัสสาวะไวเกิน (Overactive Bladder, OAB) เป็นกลุ่มอาการเรื้อรังที่ประกอบด้วย
-
อาการปวดปัสสาวะทันทีทันใด (Urgency) ต้องรีบเข้าห้องน้ำ ถ้าเป็นมากอาจมีปัสสาวะเล็ดราด (Urgency Incontinesce)
-
ปัสสาวะบ่อยมากกว่า 8 ครั้งต่อวัน หรือต้องตื่นปัสสาวะตอนกลางคืนเกิน 2 ครั้ง โดยตรวยวินิจฉัยแล้วไมพบโรคที่เป็นสาเหตุ เช่น โรคนิ่ว โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ ต่อมลูกหมากโต ฯลฯ
มีตัวเลขในชาวอเมริกันพภาวะนี้ประมาณ 34 ล้านคน คาดว่า 50-100 ล้านคนของประชากรโลกมีภาวะกระเพาะปัสสาวะไวเกิน โดยพบมากขึ้นตามอายุคือ อายุ 40 ปีขึ้นไปพบ 12-22% อายุมากกว่า 75 ปี พบ 31-42%
แม้ภาวะกระเพาะปัสสาวะไวเกินนี้ไม่เป็นอันตรายต่อชีวิต แต่ทำให้คุณภาพชีวิตเสียไปทั้งการใช้ชีวิตประจำวันการทำงาน และการออกสังคม จึงควบมาพบแพทย์เพื่อการรักษา และที่สำคัญเพื่อตรวจวินิจว่าไม่มีโรคที่เป็นสาเหตุอื่นหลบซ่อนอยู่ ซึ่งมีการตรวจที่ไม่ยู่งยากคือ
-
ซักประวัติอาการอื่นๆ เช่น ปัสสาวะเป็นเลือด นิ่ว ยาที่รับประทานประจำ หรือโรคประจำตัวอื่นๆ

-
ตรวจร่างกายทั่วไป ในผู้ชายอาจตรวจต่อมลูกหมากทางทวารหนัก
-
ทำบันทึกเวลาปัสสาวะ (Voiding diary) เพื่อดูความถี่ปริมาณ และอาการผิดปกติของการถ่ายปัสสาวะ
-
ตรวจปัสสาวะดูว่ามีเซลล์ หรือลักษณะผิดปกติหรือไม่
-
การตรวจเพิ่มเติมอื่นๆ เช่น วัดความเร็วของปัสสาวะแรงดันในกระเพาะปัสสาวะ หรืออัลตราซาวนด์ ซึ่งการตรวจเหล่านี้ใช้เพียงบางราย เนื่องจากการตรวจข้อ 1-4 ก็สามารถให้การวินิจฉัยได้เป็นส่วนใหญ่
เมื่อได้การวินิจฉัยแล้วแพทย์จะเริ่มทำการรักษาคือ
-
กำจัดสาเหตุ เช่น งดชา กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ปรับเปลี่ยนยาที่เป็นสาเหตุ เช่น ยาขับปัสสาวะ และยารักษาโรคที่เป็นต้นเหตุ
-
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น งดดื่มน้ำก่อนเข้านอน 2-4 ชั่วโมง ปัสสาวะก่อนเข้านอนหรือก่อนออกจากบ้าน
-
การฝึกกระเพาะปัสสาวะ เมื่อรู้สึกปวดปัสสาวะให้ชะลอการเข้าปัสสาวะทันทีใดด้วยการหันเหความสนใจ หายใจลึกๆ ขมิบก้น โดยพยายาบชะลอให้ได้ครั้งละ 15-30 นาที แล้วค่อยเพิ่มเวลาให้นานขึ้น
-
การรักษาทางยาควบคู่ไปกับ 3 วิธีแรก ยาที่ให้เป็นยากลุ่มยับยั้งการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะ โดยทั่วไปจะเห็นผลภายใน 2-4 สัปดาห์ ให้ยาต่อเนื่องสักระยะแล้วจึงหยุดยา
-
การรักษาอื่นๆ เช่น การผ่าตัด การกระตุ้นด้วยไฟฟ้ามีที่ใช้น้อย เนื่องจาก 85% ของผู้ป่ายจะหายจาก 3 วิธีข้างต้น
เห็นไหมว่าอาการกระเพาะปัสสาวะไวเกิน (OAB) มีวิธีการตรวจวินิจฉัยและรักษาที่ไม่ยุ่งยาก แล้วคุณจะปล่อยให้อาการเหล่านี้รบกวนคุณภาพชีวิตของคุณต่อไปหรือ?
แหล่งที่มา : นิตรสาร 9 ทันโรค