
|
|
1. ถุงร้อน ทำจากเม็ดพลาสติกโพลิโพรพิลีน (PP) ลักษณะใสมาก กระด้างกว่าถุงเย็น ไม่ยืดหยุ่น สามารถบรรจุของร้อนและอาหารที่มีไขมัน ทนความร้อนได้ถึง 100-120 องศาเซลเซียส และถุงร้อนทำจากเม็ดพลาสติกโพลิเอทิลีน ชนิดความหนาแน่นสูง (HDPE) ลักษณะบาง ขุ่น
2. ถุงเย็น ทำจากเม็ดพลาสติกโพลิเอทิลีน ชนิดความหนาแน่นต่ำ (LDPE) ลักษณะค่อนข้างใสนิ่ม ยืดหยุ่นพอสมควร ใช้บรรจุอาหารแช่แข็ง ทนความเย็นได้ถึง 70 องศาเซลเซียส แต่ทนความร้อนได้ไม่มาก
3. ถุงหิ้วหรือถุงก๊อบแก๊บ ทำจากพลาสติกโพลิเอทิลีน ชนิดความหนาแน่นต่ำ แต่ส่วนใหญ่มักนำพลาสติกที่ใช้แล้วมาทำความสะอาดและหลอมใหม่ ไม่ปลอดภัยกับการบรรจุอาหารทุกชนิด เช่น กล้วยแขก ปาท่องโก๋ ฯลฯ แม้แต่จะมีกระดาษรองอีกชั้นก็ตาม เพราะสารโลหะหนักอาจละลายออกมาปนเปื้อนได้
|
นพ.ณรงค์ศักดิ์กล่าวว่า สิ่งที่ควรระมัดระวังคือ อย่าใช้ภาชนะพลาสติกที่มีสีฉูดฉาดใส่อาหารและไม่นำภาชนะดังกล่าวมาใส่อาหารร้อน หรืออาหารที่มีน้ำมันเป็นส่วนผสม หรือมีไขมันในปริมาณสูง หรืออาหารที่เป็นกรด (รสเปรี้ยว) เช่น พริกดอง น้ำส้มสายชู เพราะความเป็นกรดจะกัดกร่อนภาชนะทำให้สารปรอทและตะกั่วปนเปื้อนอาหาร หากหลีกเลี่ยงได้ควรใช้ภาชนะแก้ว กระเบื้องเซรามิคแทน เลี่ยงการใช้ภาชนะพลาสติกอุ่นอาหารด้วยไมโครเวฟ และไม่ควรใช้ฟิล์มยืดห่ออาหารที่มีไขมัน หรืออย่าอุ่นอาหารที่ยังห่อด้วยฟิล์มยืด เพราะสาร Plasticizers จะปนเปื้อนอาหาร
แหล่งที่มา : http://women.thaiza.com/