เด็กเล็ก..นอนอย่างไรให้ปลอดภัย

เด็กเล็ก อายุน้อยกว่า 2 ปี นอนเตียงผู้ใหญ่มีความเสี่ยงต่อภาวะขาดอากาศหายใจ โดยเกิดจากการติดค้างของศรีษะระหว่างเตียงหรือเบาะที่นอนกับกำแพง การติดค้างของศรีษะกับช่องรูต่างๆ ของผนังเตียงด้านศรีษะ เท้า หรือช่องที่เกิดจากราวกันตก การตกเตียงลงบนกองผ้า ถังน้ำข้างเตียง การนอนคว่ำของเด็ก และการถูกทับโดยผู้ใหญ่ที่นอนด้วย
ข้อแนะนำการนอนอย่างปลอดภัยสำหรับเด็ก
-
ทารกจัดให้นอนในท่านอนหงายเท่านั้น
-
เด็กอายุ 2 ปีแรก ควรจัดให้นอนเตียงเด็ก (crib) หากไม่ใช้เตียงแนะนำใช้เบาะเด็กที่แยกนอนจากเบาะที่นอนผู้ใหญ่ได้
-
เบาะที่นอนที่เหมาะสมต้องมีความแข็ง ไม่หนาและอ่อนนุ่มเกินไป เพราะเมื่อเด็กพลิกคว่ำแล้วอาจกดทับการหายใจได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กอายุ 4-6 เดือน ซึ่งคว่ำเองได้แต่หงายไม่ได้
-
หมอนต้องไม่อ่อนนุ่มและใบใหญ่เกินไป เพราะอาจกดทับใบหน้า จมูกได้
-
การจัดวางต้องไม่มีช่องว่างระหว่างเบาะกับกำแพงมากกว่า 6 เซนติเมตร ซึ่งอาจเกิดการติดค้างของศรีษะได้
-
อย่าวางผ้าห่ม กองผ้าไว้ใกล้ศรีษะเด็ก ซึ่งอาจกดทับใบหน้า จมูกทำให้ขาดอากาสหายใจได้
-
การใช้เตียงเด็กมีข้อกำหนดความปลอดภัยที่สำคัญ ดังนี้
-
ตียงเด็กต้องมีราวกันตกที่มีซี่ราวห่างกันไม่เกิน 6 เซนติเมตร
-
ราวกันตกต้องมีตัวยึดที่ดี เด็กไม่สามารถเหนี่ยวรั้งให้เคลื่อนไหวได้เอง
-
เบาะที่นอนต้องพอดีกับเตียง และไม่มีช่องว่างระหว่างเบาะกับราวกันตก
-
มุมเสาทั้ง 4 มุมต้องเรียบ มีส่วนนูนได้ไม่เกิน 1.5 มิลลิเมตร
-
ผนังเตียงด้านศรีษะและเท้าต้องไม่มีการตัดตกแต่งให้เกิดร่อง รู หากเป็นซี่ต้องมีระยะห่างไม่เกิน 6 เซนติเมตร
-
เมื่อเด็กอายุ 2 ปี หรือสูงเกินกว่า 89 เซนติเมตร ควรงดใช้เตียงเด็ก เพราะมีความเสี่ยงต่อการปีนราวกันตกและตกจากที่สูงได้
-
สำหรับเตียงสองชั้น ไม่ให้เด็กอายุน้อยกว่า 6 ปี นอนชั้นบน เพระเสี่ยงต่อการตกได้ง่าย ช่องห่างของราวกันตกต้องไม่กว้างกว่า 9 เซนติเมตร
แหล่งที่มา : เด็กไทยปลอดภัย