![]() |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
![]() |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
![]() |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
![]() |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
นายสุรินทร์ จิรวิศิษฎ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน กล่าวแนะนำ ผู้ประกันตนที่มีบุตรช่วงอายุแรกเกิด 6 ปี ที่เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย คือ ไม่รวมถึงบุตรบุญธรรมหรือบุตร ซึ่งได้ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่น ผู้ประกันตนสามารถยื่นแบบ สปส.2-01 เพื่อรับสิทธิประโยชน์กรณีสงเคราะห์บุตร พร้อมแนบหลักฐานประกอบด้วยสำเนาสูติบัตรของบุตร (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสูติบัตรของ คู่แฝดด้วย) สำเนาบัตรประชาชน และสำเนาสมุดบัญชีธนาคารออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ประกันตน โดย ผู้ประกันตนหญิง ให้ยื่นขอรับเงินทันทีเพราะถือเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ส่วนในกรณีผู้ประกันตนชาย จะต้องเป็นบุตรที่ถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น โดยจะต้องแนบหลักฐานข้างต้นเหมือนกับการ ใช้สิทธิของผู้ประกันตนหญิง แต่ต้องมีหลักฐานเพิ่มอีกหนึ่งอย่าง คือ สำเนาทะเบียนสมรสหรือหนังสือรับรองบุตร (กรณีไม่ได้จดทะเบียนสมรส) ทั้งนี้ การจ่ายสิทธิประโยชน์จะจ่ายให้แก่ผู้ประกันตนเป็นรายเดือนเดือนละ 350 บาท / บุตร 1 คน ซึ่งในการขอรับประโยชน์จะได้คราวละไม่เกิน 2 คน โดยผู้ประกันตนจะได้รับสิทธิรับเงินสงเคราะห์บุตร ก็ต่อเมื่อผู้ประกันตนได้จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป โดย สปส.จะโอนเงินผ่านบัญชีออมทรัพย์ของผู้ประกันตน ถึงปัจจุบันมีทั้งหมด 9 ธนาคารที่ให้บริการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตรให้กับผู้ประกันตน ได้แก่ ธนาคารกสิกรไทย กรุงเทพ กรุงไทย กรุงศรีอยุธยา ไทยพาณิชย์ ทหารไทย นครหลวงไทย ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย และไทยธนาคาร ผู้ประกันตนสามารถยื่นขอรับสิทธิประโยชน์กรณีดังกล่าวได้ที่ สปส.เขตพื้นที่/จังหวัด/สาขา ที่นำส่งเงินสมทบอยู่ หากผู้ประกันตนมีข้อสงสัยสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่/จังหวัด/สาขาทั่วประเทศ หรือสอบถามศูนย์บริการข้อมูลประกันสังคม หมายเลขโทรศัพท์ 1506 ติดต่อระบบโทรศัพท์ตอบรับอัตโนมัติ ให้บริการทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง หรือติดต่อเจ้าหน้าที่โดยตรง ให้บริการทุกวันไม่เว้นวันหยุด ตั้งแต่เวลา 07.00 19.00 น. แหล่งที่มา : www.sso.go.th |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
นายสุรินทร์ จิรวิศิษฎ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม เปิดเผยว่า ในกรณีผู้ประกันตนเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาล ที่ผู้ประกันตนเลือกหรือที่ระบุในบัตรรับรองสิทธิฯ หรือสถานพยาบาลเครือข่ายโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ แต่หากผู้ประกันตนเจ็บป่วยฉุกเฉินหรือเกิดอุบัติเหตุ โดยผู้ประกันตนไม่สามารถเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิฯ ได้ เนื่องจากมีความจำเป็นจะต้องได้รับการรักษาพยาบาล โดยเร่งด่วน ผู้ประกันตนสามารถเข้ารับการรักษาได้ที่โรงพยาบาลใดก็ได้ที่อยู่ใกล้ที่สุด โดยให้ญาติหรือผู้เกี่ยวข้องรีบแจ้งโรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิฯ ทราบโดยด่วน เพื่อจะได้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล หรือรับตัวผู้ประกันตนไปรักษาตัวต่อไป สำหรับค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นก่อนการแจ้งให้โรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิฯ ทราบ ทางสำนักงานประกันสังคมจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นภายใน 72 ชั่วโมงแรก โดยผู้ประกันตนสามารถนำหลักฐานมายื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทน คือ แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส.201),สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน,ใบรับรองแพทย์ หนังสือรับรองจากนายจ้าง และสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารหน้าแรก ที่มีชื่อ เลขที่บัญชี ธนาคารใดธนาคารหนึ่ง ดังนี้ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา กรุงไทย กรุงเทพ กสิกรไทย ไทยพาณิชย์ นครหลวงไทย ทหารไทย ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย และไทยธนาคาร เลขาธิการฯ กล่าวย้ำว่า สำหรับผู้ประกันตนที่ยังไม่ได้ยื่นขอรับประโยชน์ทดแทนให้มายื่นขอรับสิทธิภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน ณ สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่/จังหวัด/ทั่วประเทศทุกแห่งที่สะดวก หรือหากมีข้อสงสัยสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์บริการข้อมูลประกันสังคม หมายเลขโทรศัพท์ 1506 ติดต่อระบบโทรศัพท์ตอบรับอัตโนมัติ ให้บริการทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง หรือติดต่อเจ้าหน้าที่โดยตรงให้บริการทุกวันไม่เว้นวันหยุด ตั้งแต่เวลา 07.00 19.00 น.หรือที่เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th แหล่งที่มา : www.sso.go.th |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คำถาม : ผู้ประกันตนไปใช้บริการขูดหินปูน เมื่อเดือนธันวาคม ปี 2550 แต่ยังไม่ได้นำใบเสร็จรับเงิน ไปเบิกเงินคืนจากสำนักงานประกันสังคม จะสามารถนำใบเสร็จไปขอเบิกเงินคืนในปี 2551 ได้หรือไม่ คำถาม : กรณีลูกจ้างในส่วนราชการ เกิดประสบอันตราย เนื่องจากการทำงาน จะสามารถเบิกเงินทดแทนจากกองทุนเงินทดแทนได้หรือไม่ คำถาม : ลาออกจากงานแล้ว ต้องการสมัครเป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจ ตามมาตรา 39 จะสามารถไปสมัครได้เมื่อใด คำถาม : ปัจจุบันอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรายวัน ในเขตจังหวัดกรุงเทพมหานคร นนทบุรี สมุทรปราการ และปทุมธานี อยู่ที่อัตราวันละเท่าใด แหล่งที่มา : วารสารประกันสังคม ฉบับที่ 14 มี.ค. - เม.ย. 2551 |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
นายสุรินทร์ จิรวิศิษฎ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวว่า กรณีที่มีข่าวทางสื่อมวลชนว่า ลูกจ้างย่านสมุทรหราการประสบปัญหาเดือดร้อนจากการที่โรงพยาบาลเอกชน ที่เข้าร่วมเป็นโรงพยาบาลในความตกลงของกองทุนเงินทดแทน เรียกเก็บเงินค่ารักษาพยาบาลจากลูกจ้างในกรณีที่ประสบอุบัติเหตุจากการทำงาน เหตุเพราะนายจ้างปฏิเสธไม่ยอมจ่ายเงินส่วนที่เกินจากอัตราค่ารักษาพยาบาล เลขาธิการฯ ชี้แจงกับเหตุการณ์ดังกล่าวว่า สำนักงานประกันสังคมเห็นใจลูกจ้างและโรงพยาบาล ในการเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลส่วนที่เกิน ซึ่งสำนักงานประกันสังคมไม่ได้นิ่งนอนใจในการให้การดูแล และช่วยเหลือแก่ลูกจ้าง โดยการเบิกค่ารักษาพยาบาลของกองทุนเงินทดแทนได้ในจำนวน 35,000 บาท ซึ่งขณะนี้สำนักงานประกันสังคม อยู่ระหว่างดำเนินการแก้ไขกฎกระทรวงเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล โดยเพิ่มวงเงินค่ารักษาพยาบาลจากเดิม 35,000 บาท เพิ่มเป็น 45,000 บาท หากไม่เพียงพอจ่ายเพิ่มอีกไม่เกิน 65,000 บาท รวมเป็น 110,000 บาท และค่ารักษาสูงสุดจาก 200,000 บาท ปรับเพิ่มเป็นไม่เกิน 300,000 บาท และยกเลิกเงื่อนไขค่าบุคลากรทางการแพทย์เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและลดภาระให้นายจ้างลูกจ้าง เลขาธิการฯ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า สำหรับผู้ประกันตนที่ต้องกับการฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงานภายหลังการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยทางสำนักงานประกันสังคมจะจ่ายค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟูฯ ด้านการแพทย์และฝึกอาชีพ เท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 20,000 บาท และค่าใช้จ่ายในการผ่าตัด เพื่อประโยชน์ในการฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงานไม่เกิน 20,000 บาทเช่นกัน แต่หากไม่เพียงพอผู้ประกันตนสามารถรถรับความช่วยเหลือจากมูลนิธิคุณากรในพระชาชูปถัมภ์ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ที่จะให้ความช่วยเหลือด้านค่ารักษาพยาบาลและค่าผ่าตัดแก้ไขความพิการ ค่าใช้จ่ายในการจัดทำแขนหรือขาเทียม เงินทุนประกอบอาชีพและค่าใช้จ่ายอื่นๆ ทั้งนี้ หากลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน ขอให้นายจ้างแจ้งการประสบอันตรายตามแบบการแจ้งการประสบอันตราย (กท.16) พร้อมสำเนาหนังสือส่งตัวลูกจ้างเข้ารักษาพยาบาล (กท.44) โดยส่งให้สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่/จังหวัดที่สถานประกอบการตั้งอยู่ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย หากนายจ้างหรือผู้ประกันตนท่านใดมีข้อสงสัยสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานกองทุนเงินทดแทน โทร. 02-956-2725-7 หรือที่สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่/จังหวัด/สาขาทั่วประเทศ หรือที่สายด่วนประกันสังคม 1506 ติดต่อทางระบบโทรศัพท์ตอบรับอัตโนมัติ ให้บริการทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง หรือติดต่อเจ้าหน้าที่โดยตรง ให้บริการทุกวันไม่เว้นวันหยุด ตั้งแต่ 07.00 - 19.00 น. แหล่งที่มา : วารสารประกันสังคม ฉบับที่ 14 มี.ค. - เม.ย. 2551 |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สำนักงานประกันสังคม (สปส.) แจงผู้ประกันตนที่แจ้งเปลี่ยนสถานพยาบาลในระหว่างช่วงเวลา รอบัตรใหม่ สามารถนำบัตรประชาชนหรือสำเนาบัตรรับรองสิทธิเดิมไปยื่นเข้ารับบริการได้ระหว่างรอรับบัตรใหม่ พร้อมย้ำหากผู้ประกันตนท่านใดต้องการเปลี่ยนสถานพยาบาล รีบเปลี่ยนภายใน 31 มี.ค. 51 แหล่งที่มา : www.sso.go.th |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คำถาม : ลูกจ้างที่ลาออกจากงานนายจ้างจำเป็นต้องแจ้งสำนักงานประกันสังคมหรือไม่ คำถาม : ข้าราชการมีบำเน็จบำนาญ เคยได้ยินว่าประกันสังคมจะมีการจ่ายเงินที่คล้ายกัน อยากทราบว่าในลักษณะไหน และอายุงานกี่ปี
แหล่งที่มา : วารสารประกันสังคม ฉบับที่ 6 พ.ย. - ธ.ค. 2550 |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
กรณีเจ็บป่วยเป็นกรณีหนึ่งที่สำนักงานประกันสังคมให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการได้รับสิทธิประโยชน์อย่างครบถ้วนของผู้ประกันตน "โดยผู้ประกันตนที่เจ็บป่วยหรือประสบอันตรายที่ไม่เนื่องจากการทำงาน สามารถรับสิทธิได้ ต่อเมื่อได้มีการจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนการรับบริการทางการแพทย์" ปัจจุบันผู้ประกันตนที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง และต้องหยุดรักษาตัวตามคำสั่งแพทย์เป็นเวลานานหลายวันทำให้สูญเสียรายได้ เช่น ผู้ประกันตนที่ป่วยเป็นโรคมะเร็ง โรคไตวายเรื้อรัง โรคเอดส์ โรคหรือการบาดเจ็บของสมอง เส้นเลือดสมอง หรือกระดูกสันหลังเป็นเหตุให้อัมพาตความผิดปกติของกระดูกหักที่มีภาวะแทรกซ้อน เช่น กระดูกหักที่มีการติดเชื้อ กระดูกติดช้า กระดูกไม่ติด กระดูกผิดปกติ หรือเหล็กดามกระดูกหัก และโรคหรือการเจ็บป่วยอื่นๆ ที่ต้องรักษา ตัวอย่างต่อเนื่องโดยไม่สามารถทำงานติดต่อกันได้เกินกว่า 180 วัน สามารถรับเงินทดแทนการขาดรายได้จากสำนักงานประกันสังคม ได้ในอัตรา 50% ของค่าจ้างไม่เกิน 365 วัน ใน 1 ปี นอกจากนี้ ผู้ประกันตนยังสามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลตาม บัตรรับรองสิทธิฯ ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งสำนักงานประกันสังคม ได้เหมาจ่ายให้กับทางโรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิฯ โดยตรงแล้ว ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับค่าจ้างจากนายจ้างในระหว่างหยุดงานจากการป่วยไม่เนื่องจากการทำงานที่นายจ้างต้องจ่ายให้เต็มตามที่กำหนดอยู่ในกฎหมายคุ้มครองแรงงาน หรือมีสิทธิตามระเบียบ ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน สัญญาจ้างแรงงาน หรือข้อตกลง เกี่ยวกับสภาพการจ้างแล้วแต่กรณี ผู้ประกันตนจะไม่มีสิทธิได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้จากกองทุนประกันสังคมจนกว่าสิทธิได้เงินค่าจ้างดังกล่าวได้สิ้นสุดจึงจะมีสิทธิได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ จากกองทุนประกันสังคมเท่าระยะเวลาที่เหลืออยู่ และขอให้นายจ้างวางใจว่าสำนักงานประกันสังคมจะไม่ทอดทิ้งลูกจ้าง ผู้ประกันตน ที่เจ็บป่วยอย่างแน่นอน ขอเพียงให้นายจ้างขึ้นทะเบียนนายจ้าง และขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนภายในกำหนด 30 วันนับแต่วันที่รับลูกจ้างเข้าทำงาน และต้องส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมทุกเดือน เพื่อให้ได้รับความคุ้มครองทั้ง 7 กรณี คือ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และว่างงาน แหล่งที่มา : วารสารประกันสังคม ฉบับที่ 6 พ.ย. - ธ.ค. 2550 |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
นายสุรินทร์ จิรวิศิษฎ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคมเปิดเผยว่า เนื่องจากมีนายจ้างบางรายไม่ยอมแจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริง เช่น การแจ้งเข้า-ออกต่อทาง สปส. หรือบางรายแจ้งล่าช้าเกินกว่ากำหนด เป็นเหตุให้กระทบต่อการใช้สิทธิประโยชน์ โดยเฉพาะกรณีสงเคราะห์บุตร คือ ลูกจ้างที่มีสิทธิรับเงินสงเคราะห์บุตรอยู่ได้ลาออกจากงานแล้ว แต่นายจ้างไม่แจ้งการลาออกต่อ สปส. หรือแจ้งล่าช้ากว่ากำหนด ทำให้ สปส. ได้รับข้อมูลล่าช้าและมีการประมวลผลตัดจ่ายเงินเกินสิทธิที่ผู้ประกันตนพึงได้รับ ก่อให้เกิดผลเสียหายต่อกองทุนประกันสังคม สปส. จึงมีแนวคิดที่จะเปลี่ยนแปลงระยะเวลาการประมาลผลการจ่ายเงินสงเคราะห์บุตรรายเดือน โดยให้มีระยะเวลารอ 3 เดือน แต่เมื่อพิจารณาแล้วจะเป็นการสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้ประกันตนที่นายจ้างปฏิบัติถูกต้องมาโดยตลอด สปส. จึงต้องนำมาตรการเข้มงวดในการให้นายจ้างแจ้งเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงมาใช้ ซึ่งในปี 2549 สปส. ได้ดำเนินคดีเปรียบเทียบปรับนายจ้าง จำนวน 74 ราย เป็นเงินทั้งสิ้น 608,000 บาท ดังนั้น กรณีที่มีลูกจ้างออกจากงาน ให้นายจ้างรีบแจ้งสำนักงานประกันสังคมภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป โดยใช้หนังสือแจ้งการสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน (สปส. 6-09) พร้อมทั้งระบุสาเหตุการออกจากงาน กรณีผู้ประตนเปลี่ยนชื่อ - ชื่อสกุลหรือข้อมูลสถานภาพครอบครัว และข้อมูลจำนวนบุตร ให้ใช้หนังสือแจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงผู้ประกันตน (สปส. 6-10) สำหรับการแจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงนายจ้าง เช่น กรณีเปลี่ยนชื่อกิจการ เปลี่ยนแปลงที่ตั้ง/สาขา หรือยกเลิกกิจการ ฯลฯ ใช้หนังสือแจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงนายจ้าง (สปส. 6-15) ยื่น ณ สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่/จังหวัดที่สถานประกอบการตั้งอยู่ ทั้งนี้ หากนายจ้างรายใดมีเจตนาไม่แจ้งเป็นหนังสือต่อสำนักงานฯ เพื่อขอเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขข้อเท็จจริง ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนที่มีการเปลี่ยนแปลง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แหล่งที่มา : วารสารประกันสังคม ฉบับที่ 6 พ.ย. - ธ.ค. 2550 |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
นายสุรินทร์ จิรวิศิษฎ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวว่า ขณะนี้สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงานได้ปรับสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพ โดยให้มีการปรับเพิ่มเงินบำนาญจากอัตราร้อยละ 15 เป็นร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย และเพิ่มอัตราเงินบำนาญชราภาพที่จ่ายเกิน 15 ปี จากร้อยละ 1 เป็นร้อยละ 1.5 ต่อระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบทุกๆ ปี ทั้งนี้ สิทธิประโยชน์กรณีชราภาพ เป็นสิทธิประโยชน์ 1 ใน 7 กรณีที่ผู้ประกันตนได้รับจากกองทุนประกันสังคม โดยเงินสมทบ 5% ที่ผู้ประกันตนส่งสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมนั้น สามารถแบ่งได้ดังนี้ เงินสมทบ 3% คือเงินออมกรณีชราภาพ เช่นผู้ประกันตนที่มีค่าจ้างเดือนละ 10,000 บาท จ่ายสมทบ 5 % เป็นเงินสมทบเท่ากับ 500 บาทต่อเดือน ในจำนวนนี้เงินสมทบ 300 บาท เป็นเงินออมของท่านที่เก็บออมไว้ใช้ยามเกษียณ นั่นคือ เมื่อท่านอายุครบ 55 ปี เกษียณจากการทำงานและสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตนแล้ว ท่านมีสิทธิได้รับบำเหน็จหรือบำนาญ อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยในกรณีส่งเงินสมทบไม่ถึง 12 เดือน จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับจำนวนเงินสมทบที่ตนเองนำส่งในอัตรา 3% และหากส่งเงินสมทบตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป แต่ไม่ครบ 180 เดือน จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับจำนวนเงินสมทบ ที่ตนเองและนายจ้างนำส่งเข้ากองทุนประกันสังคม ฝ่ายละ 3% รวมเป็น 6% ของค่าจ้างพร้อมผลประโยชน์ตอบแทน ส่วนเงินบำนาญชราภาพ ผู้ประกันตนจะต้องส่งเงินสมทบตั้งแต่ 180 เดือน (15 ปี) ขึ้นไป เมื่อผู้ประกันตนอายุ 55 ปี และเกษียณจากการทำงาน และสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน ผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำนาญชราภาพเป็นรายเดือนตลอดชีวิตเท่ากับ 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย และหากมีการจ่ายเงินสมทบมากกว่า 180 เดือน (15 ปี) อัตรเงินบำนาญจะเพิ่มขึ้น 1.5% ต่อการนำส่งเงินสมทบครบทุก 1 ปี เช่น ถ้าส่งเงินสมทบ 20 ปี จะได้รับเงินบำนาญรายเดือนเป็น 27.5% ของค่าจ้าง เช่น ลูกจ้างเงินเดือน 10,000 บาท จะได้รับบำนาญชราภาพรายเดือน เดือนละ 2,750 บาท ไปตลอดชีวิต และกฎกระทรวงนี้จะมีการจ่ายเงินบำนาญชราภาพขั้นต่ำด้วย นายสุรินทร์ กล่าวต่อว่า "การปรับเพิ่มอัตราการจ่ายเงินบำนาญชราภาพในครั้งนี้ได้มีการประกาศออกเป็นกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการระยะเวลาและอัตราการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ พ.ศ. 2550 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2550 เพื่อเพิ่มอัตราเงินบำนาญชราภาพแก่ผู้ประกันตนให้เหมาะสมกับสภาพทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน และลดภาระในการแสดงหลักฐานการมีชีวิตอยู่ของผู้ประกันตนต่อสำนักงานประกันสังคม หากผู้ประกันตนมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ / จังหวัดหรือสายด่วน 1506 ได้ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ"
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คำถาม : กรณีได้รับเงินสงเคราะห์บุตรเดือนละ 350 บาทจนบุตรอายุครบ 6 ปีบริบูรณ์แล้วจะได้รับสิทธิอะไรอีกบ้างเกี่ยวกับบุตร คำถาม : เงินบำเหน็จและเงินบำนาญชราภาพต่างกันอย่างไร คำถาม : กรณีลาออกจากงานขณะอายุ 50 ปี และไม่ได้ทำงานต่อ จะมีสิทธิรับเงินบำเหน็จหรือบำนาญชราภาพเมื่อใด คำถาม : ลูกจ้างเข้าทำงานได้ 3 วัน ถูกเครื่องจักรตัดนิ้ว จะได้รับความคุ้มครองหรือไม่เมื่อบาดเจ็บจากการทำงาน และนายจ้างต้องดำเนินการอย่างไร คำถาม : ลูกจ้างส่วนราชการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงาน จะเบิกเงินทดแทนจากกองทุนได้หรือไม่ คำถาม : เมื่อลูกจ้างเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงานและไม่สามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลตามบัตรฯ ได้จะต้องทำอย่างไร คำถาม : กรณีที่มีลูกจ้างเข้าทำงานใหม่นายจ้างจะต้องทำอย่างไร แหล่งที่มา : วารสารประกันสังคม ฉบับที่ 5 ก.ย. - ต.ค. 2550 |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ขณะนี้มีผู้ประกันตนจำนวนไม่น้อยที่ยังเข้าใจผิดเกี่ยวกับการรับสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพ ในกรณีที่ผู้ประกันตนเสียชีวิตก่อนอายุ 55 ปี ว่าจะมีสิทธิรับเงินชราภาพหรือไม่ และได้รับในรูปแบบใด สำนักงานประกันสังคมขอเรียนชี้แจงว่า กรณีที่ผู้ประกันตนเสียชีวิตก่อนอายุ 55 ปี ทายาทผู้มีสิทธิ มีสิทธิจะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ กล่าวคือ บุตร สามี ภริยา บิดา มารดาของผู้ประกันตนโดยชอบด้วยกฎหมาย จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพดังกล่าว โดยผู้มีสิทธิจะต้องยื่นเรื่องขอรับเงินบำเหน็จชราภาพได้ตามเงื่อนไขทันที นับจากวันที่เสียชีวิตภายใน 1 ปี นอกจากเงินบำเหน็จชราภาพแล้ว กรณีผู้ประกันตนที่เสียชีวิต ทายาทผู้มีสิทธิจะได้รับสิทธิประโยชน์กรณีตายอีกด้วย ได้แก่ เงินค่าทำศพ จำนวน 30,000 บาท จ่ายให้แก่ผู้จัดการศพ เงินสงเคราะห์กรณีตายตามระยะเวลาที่ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบ (กรณีที่ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป แต่ไม่ถึง 10 ปี ทายาทผู้มีสิทธิจะได้รับเงินสงเคราะห์เท่ากับค่าจ้างเฉลี่ยเดือนครึ่ง และกรณีจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ทายาทผู้มีสิทธิจะได้รับเงินสงเคราะห์เท่ากับค่าจ้างเฉลี่ย 5 เดือน) ตัวอย่าง นาย ก เป็นผู้ประกันตน ส่งเงินสมทบตั้งแต่ปี 2541 - 2549 และได้เสียชีวิตลงขณะอายุ 50 ปี โดยมียอดเงินสะสมกรณีชราภาพ 50,000 บาท ดังนั้น ทายาทผู้มีสิทธิของนาย ก จะได้รับประโยชน์ทดแทน เป็นเงินค่าทำศพ 30,000 บาท จ่ายให้ผู้จัดการศพ เงินสงเคราะห์กรณีตายร้อยละ 1.5 ของค่าจ้างเฉลี่ยเงินบำเหน็จชราภาพ 50,000 รวมทั้งดอกผลตามประกาศของสำนักงานประกันสังคม แหล่งที่มา : วารสารประกันสังคม ฉบับที่ 4 ก.ค. - ส.ค. 2550 |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เนื่องจากขณะนี้มีผู้ประกันตนได้สอบถามมายังสำนักงานประกันสังคมเป็นจำนวนมาก เกี่ยวกับเรื่องการทำหนังสือระบุผู้มีสิทธิรับเงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิตของผู้ประกันตน ซึ่งสำนักงานประกันสังคมขอแนะนำให้ผู้ประกันตนทำหนังสือระบุผู้มีสิทธิรับเงินกรณีเสียชีวิตไว้ล่วงหน้า โดยการบันทึกข้อความเก็บไว้เป็นหลักฐาน ระบุสถานที่วันเดือนปีที่ทำหนังสือ ชื่อ นามสกุล เลขที่บัตรประชาชนและที่อยู่ของผู้ประกันตน สิ่งสำคัญคือผู้ประกันตนต้องระบุให้ชัดเจนว่าเมื่อผู้ประกันตนเสียชีวิตลงประสงค์ให้จ่ายเงินสงเคราะห์แก่บุคคลใด โดยจะต้องระบุชื่อ นามสกุล เลขที่บัตรประชาชน และที่อยู่ของผู้มีสิทธิลงชื่อผู้ประกันตน ลงชื่อพยาน แต่หากผู้ประกันตนมีทายาทหรือผู้มีสิทธิตามกฎหมายอยู่แล้วก็ไม่จำเป็นต้องทำหนังสือดังกล่าว ทั้งนี้ หนังสือระบุชื่อผู้มีสิทธิรับเงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิตที่จัดทำขึ้นมาแล้ว ให้ผู้ประกันตนเป็นผู้เก็บไว้เองโดยสำนักงานประกันสังคมจะไม่เป็นผู้เก็บเอกสารดังกล่าว ในการนี้ ผู้ประกันตนต้องแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของทายาทผู้มีสิทธิ และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของพยานมาด้วย จึงจะถือว่าหนังสือฉบับดังกล่าวมีผลสมบูรณ์เพื่อให้เป็นหลักฐานในการแสดงตัวว่าเป็นผู้มีสิทธิอย่างแท้จริง สำหรับทายาทหรือผู้มีสิทธิท่านใดยังไม่ได้ยื่นขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีตายให้มายื่นขอรับสิทธิภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ประกันตนเสียชีวิต ณ สำนักงานประกันสังคมทุกแห่งที่สะดวก และสามารถเข้าไปดูรายละเอียดการขอรับประโยชน์ทดแทนในทุกกรณี ได้ที่เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th หรือโทรศัพท์สอบถามเพิ่มเติมที่สายด่วน โทร. 1506 ได้ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ แหล่งที่มา : วารสารประกันสังคม ฉบับที่ 3 พ.ค. - มิ.ย. 2550 |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
หลักการของบำนาญชราภาพ มีดังนี้
เงื่อนไขการเกิดสิทธิกรณีบำเหน็จชราภาพ
ประโยชน์ทดแทนกรณีบำนาญชราภาพ
ประโยชน์ทดแทนกรณีบำเหน็จชราภาพ
กำหนดเวลาการยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทน ผู้ประกันตนหรือผู้มีสิทธิจะต้องยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนภายใน 1 ปี นับแต่วันที่มีสิทธิขอรับประโยชน์ทดแทน หลักการข้างตนเป็นภาษากฎหมาย เพื่อให้ท่านเข้าใจง่าย เราลองมาดูตัวอย่างกันนะครับ ตัวอย่างที่ 1 คุณนิตยาเพิ่งจะเข้าทำงานเป็นพนักงานโรงงานเครื่องใช้ไฟฟ้า ปัจจุบันอายุ 25 ปี งานที่โรงงานทำให้คุณนิตยามีรายได้เดือนละ 6,000 บาท จากรายได้จำนวนนี้ คุณนิตยาจึงสมทบเงินเข้ากองทุนประกันสังคมร้อยละ 5 ของรายได้ คิดเป็นเงินเท่ากับ 300 บาท โรงงานเครื่องใช้ไฟฟ้าซึ่งเป็นนายจ้างสมทบให้อีกเท่าตัว คืออีก 300 บาท รัฐบาลสมทบอีก 165 รวมเป็นเงินสมทบ 765 บาท จากข้อมูลในตาราง ท่านจะเห็นว่าในจำนวนเงินสมทบ 300 บาท ซึ่งเป็นส่วนของคุณนิตยานั้น เงินสมทบจำนวน 90 บาท เป็นการคุ้มครองเรื่องเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ ตาย และเงินสมทบจำนวน 30 บาทเป็นการคุ้มครองกรณีว่างงาน เงินสมทบของคุณนิตยาซึ่งมีรายได้ 6,000 บาทต่อเดือน
เงินสมทบจำนวน 180 บาทจากคุณนิตยารวมกับส่วนของนายจ้างอีก 180 บาท แท้ที่จริงแล้วคือการออมเงินครับ หลักการสำคัญของกองทุนประกันสังคมก็คือว่า ในช่วงที่คุณนิตยาซึ่งเป็นผู้ประกันตนยังมีรายได้ คุณนิตยาควรจะออมเงินส่วนหนึ่งสะสมไว้ เมื่อถึงวันที่คุณนิตยาเกษียณและไม่มีรายได้ จะได้นำเงินที่ออมไว้มาใช้จ่าย ซึ่งหากคุณนิตยาทำงานต่อไปอีก 30 ปี สมมติว่ารายได้คงที่เท่ากับ 6,000 บาทต่อเดือนจนเกษียณอายุเมื่ออายุ 55 ปี คุณนิตยาจะมีสิทธิได้รับเงินบำนาญเท่ากับ 2,550 บาทต่อเดือน และจะได้รับไปตลอดชีวิต คุณนิตยาจะมีสิทธิได้รับเงินบำนาญก็ต่อเมื่อเข้าเกณฑ์ 3 ข้อ คือ
เงินบำนาญจำนวน 2,550 บาท คิดจากสูตรบำนาญชราภาพ ดังนี้
ดังนั้น คุณนิตยาจะได้รับบำนาญจำนวนรวม 2,550 บาท ทุกเดือนไปตลอดชีวิต เงินบำนาญจำนวน 2,550 บาทนี้อาจจะดูเหมือนไม่มาก แต่หากเรานึกภาพว่า ณ วันที่คุณนิตยาเกษีณอายุแล้ว และไม่มีรายได้ เงินจำนวนนี้ก็ถือว่าเป็นรายได้ขั้นต่ำที่จะช่วยยังชีพ ซึ่งหากคุณนิตยาคิดว่าเงินบำนาญจำนวนนี้ไม่เพียงพอ ก็จำเป็นจะต้องออมเงินเพิ่มต่างหาก แต่หลักการของกองทุนประกันสังคม คือต้องการให้ผู้ประกันตนมีรายได้ขั้นต่ำไว้ใช้ในยามเกษียณ จำนวนเงินอาจจะไม่มาก แต่ก็ควรมากพอที่จะยังชีพได้ สิ่งที่น่าสนใจก็คือว่า ผู้ประกันตนที่อยู่ในระบบส่วนใหญ่จะได้กำไรจากการรับบำนาญ ตัวอย่างที่ 2 คุณสมศรี เพื่อนร่วมงานของคุณนิตยาเพิ่งจะเข้าทำงานที่โรงงานเครื่องใช้ไฟฟ้าเช่นกัน ปัจจุบัน อายุ 45 ปี มีรายได้เดือนละ 6,000 บาท จากรายได้จำนวนนี้คุณสมศรีจึงสมทบเงินเข้ากองทุกประกันสังคมเท่ากับคุณนิตยา ดังนี้ เงินสมทบของคุณสมศรีซึ่งมีรายได้ 6,000 บาทต่อเดือน สมมติว่าทำงานต่อไปอีก 10 ปีจนเกษียณที่อายุ 55 ปี กรณีนี้ คุณสมศรีสมทบไม่ครบ 180 เดือน หรือ 15 ปี จึงไม่มีสิทธิรับบำนาญ แต่จะได้รับเหน็จเป็นเงินก้อน ดังนั้น เมื่อคุณสมศรีเกษียณที่อายุ 55 ปี จะมีสิทธิได้รับบำเหน็จเท่ากับจำนวนเงินสมทบในส่วนที่คุณสมศรีกับของนายจ้างกลับคืนไป พร้อมกับดอกผลจากการลงทุน เป็นจำนวนประมาณ 43,200 บาท คำนวณได้จาก เงินสมทบในส่วนของชราภาพจากคุณสมศรี 180 บาท + จากนายจ้างของคุณสมศรีอีก 180 บาท รวม 360 บาทต่อเดือน หรือ 360 x 12 = 4,320 บาทต่อปี คุณสมศรีสมทบเป็นเวลา 10 ปี จึงได้รับบำเหน็จจำนวน 4,320 x 10 = 43,200 บาทต่อปี ในความเป็นจริง คุณสมศรีจะได้รับบำเหน็จมากกว่านี้อีกเล็กน้อย เพราะจะต้องบวกดอกผลจากการลงทุนด้วย ตัวอย่างที่ 3 คุณสมชาย พนักงานธนาคาร ปัจจุบันอายุ 40 ปี รายได้เดือนละ 45,000 บาท กรณีคนที่มีรายได้มาก เช่น คุณสมชายนี้ กองทุนประกันสังคมมีเพดานการจัดเก็บเงินสมทบอยู่ที่ 15,000 บาทต่อเดือน ดังนั้น คุณสมชายจึงสมทบร้อยละ 5 ของเงิน 15,000 บาท แบ่งได้ดังนี้ เงินสมทบของคุณสมชายซึ่งมีรายได้ 45,000 บาทต่อเดือน ต้องสมทบที่อัตราร้อยละ 5 ของเพดานรายได้ 15,000 บาทต่อเดือน
สมมติว่าคุณสมชายเพิ่งเริ่มสมทบเงินเข้ากองทุนในวันนี้คุณสมชายอาจจะได้รับเป็นบำนาญมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับระยะเวลาสมทบเข้ากองทุน นั่นคือ หากคุณสมชายทำงานไปอีก 15 ปี จนเกษียณที่อายุ 55 คุณสมชายจะมีสิทธิได้รับบำนาญเท่ากับร้อยละ 20 ของเพดานรายได้ 15,000 บาท คิดเป็นเงินบำนาญ 3,000 บาทต่อเดือน หากคุณสมชายยังไม่เกษียณที่อายุ 55 แต่ทำงานต่อเนื่องไปอีก ซึ่งปกติพนักงานธนาคารจะเกษียณที่อายุ 60 ปี คุณสมชายจะได้รับบำนาญจำนวน 4,125 บาทต่อเดือน คิดได้ดังนี้
ผู้ประกันตนสามารถสอบถามข้อมูลสายด่วน โทร. 1506 หรือที่ www.sso.go.th หรือ mail ได้ที่ oim1@sso.go.th แหล่งที่มา : วารสารประกันสังคม ฉบับที่ 2 มี.ค. - เม.ย. 2550 |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ผู้ประกันตนสามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลอื่นได้ในกรณีประสบอันตราย ประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยฉุกเฉินเท่านั้น โดยต้องมีเหตุผลอันสมควร คือ ประสบอุบัติเหตุที่ทำให้บาดเจ็บหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพ หรือมีอาการของโรคที่เกิดขึ้นโดยเฉียบพลัน รุนแรงถึงขั้นเป็นอันตรายแก่ชีวิต หรือจำเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลเป็นการด่วนส่วนในกรณีผู้ประกันตนประสบเหตุจนหมดสติ ไม่รู้สึกตัวขอให้ญาติหรือผู้ที่เกี่ยวข้องในเหตุการณ์นำตัวผู้ประกันตนส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่เกิดเหตุที่สุด ให้อยู่ในความดูแลของแพทย์เพื่อทำการรักษาได้อย่างทันท่วงที และข้อควรปฏิบัติอย่างยิ่งเมื่อผู้ประกันตนเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลอื่น คือ ให้ญาติหรือผู้ที่เกี่ยวข้องรีบแจ้งให้โรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิฯ ทราบโดยด่วน เพื่อจะได้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล โดยจะนับตั้งแต่เวลาที่โรงพยาบาลได้รับแจ้งไปจนกว่าจะสิ้นสุดการรักษา ส่วนค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นก่อนการแจ้งให้โรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิฯ ทราบ สำนักงานประกันสังคมจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายภายใน 3 วัน (72 ชั่วโมง) ตามหลักเกณฑ์และอัตราที่กำหนด ทั้งนี้ถ้าผู้ประกันตนเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลอื่นที่ไม่ใช่โรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิฯ ผู้ประกันตนต้องสำรองจ่ายไปก่อน และเบิกคืนจากสำนักงานประกันสังคมได้ในอัตราที่กำหนด ดังนี้
หากผู้ประกันตนมีข้อสงสัย สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกระทรวงแรงงาน 1506 หรือที่ www.sso.go.th แหล่งที่มา : วารสารประกันสังคม ฉบับที่ 2 มี.ค. - เม.ย. 2550 |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
![]() |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
นายสุรินทร์ จิรวิศษฎ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม เผยถึงผลการดำเนินงานกองทุนประกันสังคม ในรอบปี 49 ว่า ถึงขณะนี้ลูกจ้าง ผู้ประกันตนที่อยู่ในความดูแลของ สปส. สูงถึง 8.8 ล้านคน สถานประกอบการ 3.7 แสนแห่ง จ่ายประโยชน์ทดแทนให้กับผู้ประกันตนไปแล้ว รวม 17,404,316 ราย เป็นเงิน 20,356.51 ล้านบาท สำหรับสถานะเงินกองทุน (ธ.ค.49) มีเงินลงทุนทั้งสิ้น 403,281 ล้านบาท ที่ผ่านมา สปส. ให้ความช่วยเหลือสถานประกอบการลูกจ้าง ผู้ประกันตนที่ประสบภัยน้ำท่วม โดยขยายเวลานำส่งเงินสมทบของสถานประกอบการที่ประสบภัย ประสานสถาบันการเงินพิจารณาให้สินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องแก่สถานประกอบการที่ประสบอุทกภัยเป็นพิเศษ จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่โดยร่วมกับโรงพยาบาลในโครงการประกันสังคม ให้บริการตรวจสุขภาพ รวมทั้งศึกษาและเสนอรูปแบบการให้ความคุ้มครองกับแรงงานนอกระบบ นายสุรินทร์ฯ กล่าวต่อว่า ในปี'50 กำหนดทิศทางการทำงานไว้ชัดเจน คือ เน้นที่จะให้ผู้ประกันตนทุกคนได้รับบริการและมีคุณภาพชีวิตที่ดี ตั้งแต่ 1 ม.ค. 50 ผู้ประกันตนจะได้รับสิทธิประโยชน์กรณีคลอดบุตรและทำฟันใหม่ กรณีคลอดบุตร สปส. เหมาจ่ายค่าคลอดให้กับผู้ประกันตนโดยตรงในอัตรา 12,000 บาท ต่อการคลอดบุตร 1 ครั้ง คนละไม่เกิน 2 ครั้ง หากเป็นผู้ประกันตนทั้งสามี-ภรรยา ให้ใช้สิทธิเบิกค่าคลอดรวมกันไม่เกิน 4 ครั้ง ส่วนสิทธิฯ กรณีทันตรกรรม จ่ายค่าบริการให้กับผู้ประกันตนกรณีถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น ไม่เกิน 250 บาท/ครั้ง และไม่เกิน 500 บาท/ปี กรณีใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้ฐานอคริลิกผู้ประกันตนได้รับค่าบริการเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นภายในระยะเวลา 5 ปี คือ 1-5 ซี่ ในวงเงินไม่เกิน 1,200 บาท มากกว่า 5 ซี่ ในวงเงินไม่เกิน 1,400 บาท ทั้ง 2 กรณี ผู้ประกันตนสามารถเข้ารับบริการที่ โรงพยาบาลใดก็ได้ตามสะดวก นอกจากนี้ เตรียมที่จะขยายความคุ้มครองไปยังแรงงานนอกระบบ ทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการที่สะดวก รวดเร็ว ลดขั้นตอนการทำงาน ประทับใจผู้ใช้บริการ เพิ่มช่องทางการรับ-จ่ายเงินสมทบผ่านธนาคารพาณิชย์และรับใบเสร็จทันที รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการลงทุนอีกด้วย แหล่งที่มา : วารสารประกันสังคม ฉบับที่ 1 ม.ค. - ก.พ. 2550 |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
![]() |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
จากการปรับรูปแบบการจ่ายสิทธิประโยชน์กรณีทันตกรรมให้ผู้ประกันตนสามารถถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูนโดยได้รับค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นแต่ไม่เกิน 250 บาท/ครั้ง และไม่เกิน 500 บาท/ปี ส่วนกรณีใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้ฐานอคริลลิก ผู้ประกันตนได้รับค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นภายในระยะเวลา 5 ปี คือ 1-5 ซี่ ในวงเงินไม่เกิน 1,200 บาท มากกว่า 5 ซี่ ในวงเงินไม่เกิน 1,400 บาท ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2550 เป็นต้นไป เพื่ออำนวนความสะดวกรวดเร็วในการจ่ายสิทธิประโยชน์แก่ผู้ประกันตร สปส. จึงได้มีการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการบันทึกวินิจฉัย ค่าบริการทางการแพทย์กรณีทัตกรรมโดยโปรแกรมฯวินิจฉัย กรณีถอนฟัน อุดฟัน และขูดหินปูน ได้พัฒนาและสามารถให้บริการแก่ผู้ประกันตนได้แล้ว ส่วนโปรแกรมฯ วินิจฉัยกรณีใส่ฟันเทียยมชนิดถอดได้ฐานอคริลิก คาดว่าจะพัฉนาแล้วเสต็จในเดือนมีนาคม 2550 นี้ อย่างไรก็ตามในขณะนี้ ผู้ประกันตนสามารถยื่นคำขอรับสิทธิประโยชน์กรณีทันตกรรมได้ที่ สปส. เขตพื้นที่/จังหวัดตามปกติ โดยการจ่ายสิทธิประโยชน์กรณีทันตกรรมในปี 2550 นี้ ผู้ประกันตนสามารถไปรับบริการที่สถานพยาบาลใดก็ได้ แล้วนำหลักฐาน (ใบเสร็จรับเงินและแบบ สปส. 2-16) มายื่นเรื่องขอเบิกสิทธิประโยชน์ในภายหลัง แหล่งที่มา : วารสารประกันสังคม ฉบับที่ 1 ม.ค. - ก.พ. 2550 |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
![]() |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
การจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนเงินบำเหน็จชราภาพ สปส. ได้ประกาศอัตราผลประโยชน์ตอนแทน ประจำปี 2549 แล้วโดยคำนวณจากค่าเฉลี่ยผลประโยชน์ที่ได้รับจากการนำเงินกองทุนไปลงทุน จึงกำหนดอัตราผลประโยชน์ตอบแทนเงินบำเหน็จชราภาพ ให้จ่ายในอัตราร้อยละ 4.45 ต่อปี ของเงินสมทบสุทธิที่ผู้ประกันตนและนายจ้างจ่ายสมทบเพื่อประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตร และชราภาพ ซึ่งอัตราการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนดังกล่าวนี้ ให้ใช้ในปีต่อไปด้วยจนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง สำหรับผู้ประกันตนที่มีสิทธิรับเงินบำเหน็จชราภาพ คือ ผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบไม่ครบ 180 เดือน ต้องมีอายุครบ 55 ปี และสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนแล้ว ซึ่งเงินบำเหน็จชราภาพจะจ่ายให้ตามระยะเวลาการนำส่งเงินทบกรณีสงเคราะห์บุตรและชราภาพของผู้ประกันตน ในรายที่จ่ายเงินสมทบต่ำกว่า 12 เดือน จะได้รับบำเหน็จชราภาพเท่ากับจำนวนเงินสมทบที่ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุจเพียงส่วนเดียว ส่วนผู้ที่จ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไปแต่ไม่ถึง 180 เดือน จะได้รับบำเหล็จชราภาพเท่ากับจำนวนเงินสมทบ ในส่วนที่ผู้ประกันตน และนายจ้างจ่ายเงินสมทบเข้าของทุน พร้อมผลประโยชน์ตอบแทนตามที่ สปส. กำหนดในแต่ละปี การขอรับประโยชน์ทดแทนไม่มีขั้นตอนที่อยุ่งยากเพียงผู้ประกันตนกรอกแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส. 2-01) พร้อมแบบสำเนาบัตรประชาชน สำเนาบัตรประกันสังคม และหากผู้ประกันตนถึงแต่ความภตายให้ทายาทหรือผู้มีสิทธินำสำเนาทะเบียนบ้าน ในมรณบัตร และสำเนาเอกสารหลักฐานของผู้มีสิทธิรับประโยชน์ทดแทนทั้งหมดมายื่นที่ สปส. เขตพื้นที่/จังหวัดที่ไหนก็ได้ที่สะดวก ทั้งนี้ ผู้มีสิทธิต้องรีบยื่นเรื่องรับประโยชน์ทดแทนภายใน 1 ปี หากผู้ประกันตนมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเงินสะสมกรณีชราภาพของตนเอง สามารถตรวจสอบได้ที่ www.sso.go.th หรือ โทรศัพย์สอบถามไปที่ส่วนด่วนฯ 1506 แหล่งที่มา : วารสารประกันสังคม ฉบับที่ 1 ม.ค. - ก.พ. 2550 |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||