การใช้คอมพิวเตอร์กับอาการ "ปวดข้อศอก"


หลายๆ ครั้งที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็นเวลานานๆ จะมีอาการปวดข้อศอกเกิดขึ้น ลองสังเกตตัวเองดูว่าอาการนั้นเกิดขึ้นจากสาเหตุใดได้บ้าง และเมื่อผ่านไประยะหนึ่งก็ได้คำตอบที่เป็นสาเหตุ ประการหนึ่งก็คือ " เมื่อใดที่แป้นพิมพ์หรือที่วาง Mouse อยู่สูงกว่าข้อศอกในเวลานั่งทำงานปกติ จะทำให้เกิดอาการปวดข้อศอกเกิดขึ้นมา"

ลองสังเกตเปรียบเทียบกัน ระหว่างการนั่งทำงานโดยการใช้โต๊ะคอมพิวเตอร์แบบมาตรฐานที่มีลิ้นชักดึงเข้าดึงออกสำหรับคีย์บอร์ดได้ วันนึงใช้นานขนาดไหนหรือบางครั้งใช้วันละ 6-8 ชั่วโมงติดต่อกันระยะเวลานาน ๆ ( ตั้งแต่ 1 เดือนขึ้นไป) ก็จะไม่มีอาการปวดข้อศอกเข้ามารบกวน

แต่เมื่อเปรียบเทียบกับการที่ต้องทำงานบนโต๊ะทั่วๆ ไป โดยเฉพาะการวางโน๊ตบุ๊คบนโต๊ะทำงานแบบปกติ ถ้าใช้งานเกินกว่าวันละ 3-4 ชั่วโมง ติดต่อกันเป็นเวลาไม่เกิน 1 สัปดาห์ ก็จะเกิดอาการปวดข้อศอกตามมาทันที

ท่านั่งพิมพ์อย่างถูกต้องที่ผมจำได้มีอยู่ 5 ประการครับ

    • นั่งหลังตรงอิงกับพนัก แต่ไม่พิงกับพนัก (ไม่ถ่ายน้ำหนักลงไปที่พนัก) ให้หลังแตะพนักไว้โดยไม่ต้องถ่ายน้ำหนักลงไป
    • วาง key board ให้ได้ระดับ "ขนาน" กับข้อศอก ให้ปล่อยแขนลงไปข้างลำตัวและพับข้อศอกขึ้นมาให้ทำมุม 90 องศากับหัวไหล่และเป็นเส้นขนานกับพื้น จากนั้นลากเส้นตรงจากข้อศอกผ่านข้อมือจนถึงปลายนิ้ว จุดนั้นจะต้องจุดที่วางพิมพ์ดีที่เหมาะสมที่สุด
    • หาเก้าอี้ที่นั่งแล้วฝ่าเท้าสัมผัสพื้นได้พอดี ความพอดีนั้นก็คือ ให้หัวเข่าทำมุม 90 องศากับหน้าขา โดยตั้งแต่หัวเข่าถึงน่องตั้งตรงกับพื้นได้พอดี และสามารถงอขาได้เล็กน้อย
    • ให้ปลายเท้าข้างใดข้างหนึ่งเยื้องออกไปข้างหน้าเล็กน้อย (ประมาณครึ่งฟุต)
    • เวลาพิมพ์ให้ยกข้อมือให้สูงขึ้นเล็กน้อย ไม่ควรนำอุ้งมือหรือข้อมือไปวางบนโต๊ะ เพราะจะทำให้ข้อมืออยู่ต่ำกว่านิ้วมือ ซึ่งจะทำให้เกิดอาการพับของเส้นที่อยู่ระหว่างข้อมือและนิ้ว ทำให้เกิดอาการเมื่อยล้าได้ง่ายในขณะพิมพ์งาน (เทคนิคนี้เหมือนกับเทคนิคที่ใช้กับการเล่นเปียโนครับ เพราะอาจารย์สอนเปียโนก็บอกว่าต้องยกข้อมือให้สูง สูงกว่าลิ่มเปียโน)