น้ำตาลเทียม ปิ๊ง! จากการชิม
น้ำตาลเทียมก็คือสารที่ให้รสหวาน แต่ไม่ได้มาจากน้ำตาลใดๆ การค้นพบน้ำตาลเทียมมีกันหลายคน และมาจากหลายชนิดของสารเคมี ล้วนแต่พลโดยบังเอิญทั้งสิ้น ดังนี้
ค่ำคืนหนึ่งในปี ค.ศ. 1879 ทนายคอนสแภนติน ฟาห์ลเอร์ก (Constantine Fahlberg) เสร็จจากการทดลองในห้องปฏิบัติการ ก็หยิบขนมปังขึ้นมากิน เขารู้สึกว่าขนมปังหวานผิดปกติเขาคิดทันทีว่า มือของเขาจะต้องติดสารตัวใดตัวหนึ่งมาจากห้องทดลองแน่นอน เขาจึงกลับไปที่ห้องทดลองอีกครั้ง ลงมือชิมสารต่างๆ ทีละตัว จนพบว่า "แซกคาริน" (saccharin) นั่นเองที่เป็นสารให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลถึง 300-500 เท่าทีเดียว เขาจดสิทธิบัตรทันที โดยได้รับการจดทะเบียนสิทธิบัตรในปี ค.ศ. 1885
ในปี ค.ศ. 1937 นายไมเคิล สเวดา (Michael Sveda) เป็นอีกผู้หนึ่งที่ค้นพบน้ำตาลเทียมโดยบังเอิญ จากการลิ้มรสหวานจากปลายมวนบุหรี่ของเขา เขากลับจึงให้ชื่อน้ำตาลเทียมของเขาว่า "ไซคลาเมต" (cyclamate) ให้ความหวานมากกว่าน้ำตาล 30 เท่า
ในปี ค.ศ. 1970 มีการวิจัยพบว่า ทั้งแซกคารินและไซคลาเมตเป็นสารอันตรายที่ก่อให้เกิดมะเร็งในหนูทดลอง
ในปี ค.ศ. 1965 นายเจมส์ สแกตเตอร์ (James Schlatter) นักเคมีได้ค้นพบน้ำตาลเทียมโดยบังเอิญอีกเช่นกัน เกิดจากการที่เขาเลียนิ้วมือเพื่อหยิบกระดาษจากปึกออกมา ปรากฏว่านิ้วมือของเขาหวาน เขาจึงไปค้นหาที่มาของความหวานบนนิ้วมือ ได้ค้นพบน้ำตาลเทียมอีกชนิดหนึ่งที่เขาให้ชื่อว่า "แอสพาร์เทม" (aspartame)
