เอ็กซเรย์ ปิ๊ง! จากรังสีที่ไม่รู้จัก


เมื่อปี ค.ศ. 1895 นายวิลเฮลม์ คอนราด เรนท์เกน (Wilhelm Conrad Rontgen) นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน ขณะที่เขากำลังทำการทดลอง โดยนำท่อรังสีแคโทด (cathode-ray tube) มาใช้ เพื่อศึกษาลำแสงอิเล็กตรอน ขณะที่ทำการทดลองนั้น เขาสังเกตเห็นว่าลำแสงจากท่อรังสีแคโทด สามารถเดินทางผ่านวัตถุทึบแสงได้ เขาไม่รู้ว่ารังสีที่เขาค้นพบโดยบังเอิญนี้คือรังสีอะไร เขาจึงเรียกรงสีตัวนี้ว่า "รังสีเอ็กซ์" (x-ray) ผู้ช่วยของเขาเรียกรังสีนี้ว่า "รังสีเรนท์เกน" (Rontgen-ray) เพื่อเป็นการให้เกียรติแก่เขา

ต่อมารังสีเอ็กซ์ถูกนำไปใช้ในวงแพทย์อย่างกว้างขวาง และนับเป็นก้าวปฏิบัติของวงการแพทย์ทีเดียว ในการนำมาใช้วินิจฉัยโรคเพื่อการรักษาเยียวยา ต่อมาวิศวกรชาวเยอรมันของบริษัท GE (General Electric) นายวิลเลียม ดี คูลลิจ (William D. Coolidge) ได้ปรับปรุงเครื่องมือควบคุมรังสีเอ็กซ์ให้อยู่ในทิศทางจำกัดตามเป้าหมาย เบี่ยงเบนและกระจายให้น้อยที่สุด เพื่อให้ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุดได้ภาพชัดเจนมากขึ้น ซึ่งใช้กันมาจนปัจจุบันนี้ ถือเป็นเครื่องมือที่สำคัญอย่างยิ่งยวดของวงการแพทย์ทั่วโลก