ที่ปรึกษาตรวจสอบอาคารเพื่อความปลอดภัย ศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต ประจำปี 2566
   
 

     รายละเอียดของโครงการ

การตรวจสอบสภาพอาคารให้เกิดความปลอดภัยต่อชีวิต ร่างกาย สุขภาพ และทรัพย์สิน ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และมาตรา 32 ทวิ (3) แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2543 ศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต ในนาม บริษัท รังสิตพลาซ่า จำกัด จึงต้องมีการตรวจสอบอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง เพื่อความปลอดภัยสำหรับการใช้อาคาร เนื่องด้วยอาคารถูกใช้งานมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง เป็นผลให้อุปกรณ์บางส่วนเสื่อมสภาพตามระยะเวลาที่ควรจะเป็น ต้องได้รับการปรับปรุงให้ทันสมัยและปลอดภัยยิ่งขึ้น โดยคำนึงถึงมาตรฐานทางด้านวิศวกรรมของประเทศไทย และตามหลักมาตรฐานสากล เพื่อความปลอดภัยในการใช้อาคารของเจ้าของอาคาร ผู้ใช้อาคาร ลูกค้า ประชาชนที่เข้ามาดำเนินกิจกรรมภายในศูนย์การค้าฯ ตรวจสอบอาคาร เพื่อความปลอดภัยสำหรับการใช้อาคาร โดยคำนึงถึงมาตรฐานทางด้านวิศวกรรมของประเทศไทย และตามหลักมาตรฐานสากล ดังนี้

  1. พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522
  2. พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535
  3. พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2543
  4. กฎกระทรวงกำหนดประเภทอาคารที่ต้องจัดให้มีการตรวจสอบ พ.ศ. 2548
  5. วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.)
  6. สถาปนิกสยามแห่งประเทศไทย
  7. National Fire Protection Association (NFPA)
  8. ข้อบัญญัติติหรือข้อกำหนดท้องถิ่นด้านความปลอดภัย

บริษัท ไอ อีซีเอ็ม จำกัด (iECM) ในฐานะบริษัทวิศวกรที่ปรึกษา จึงได้รับมอบหมายตรวจสอบอาคารเพื่อความปลอดภัย ประกอบด้วยพื้นที่ในศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต และศูนย์การค้า Zpell ดังนี้

  1. ส่วนกลางฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต
  2. ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล
  3. ห้างโรบินสัน
  4. บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์
  5. โรงหนังเมเจอร์ซีนีเพล็กซ์
  6. ศูนย์การค้า Zpell
  7. อาคารจอดรถ Zpell

การตรวจสอบอาคารและอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อความปลอดภัยอย่างน้อยมี ดังนี้

1. ตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงของอาคาร

(1) การต่อเติมดัดแปลงปรับปรุงตัวอาคาร
(2) การเปลี่ยนแปลงน้ำหนักบรรทุกบนพื้นอาคาร
(3) การเปลี่ยนแปลงสภาพการใช้อาคาร
(4) การเปลี่ยนแปลงวัสดุก่อสร้างหรือวัสดุตกแต่งอาคาร
(5) การชำรุดสึกหรอของอาคาร
(6) การวิบัติของโครงสร้างอาคาร
(7) การทรุดตัวของฐานรากอาคาร

2. ตรวจสอบระบบและอุปกรณ์ประกอบต่างๆ ของอาคาร

(2.1) ระบบบริการและอำนวยความสะดวก

  • ระบบลิฟต์
  • ระบบบันไดเลื่อน
  • ระบบไฟฟ้า
  • ระบบปรับอากาศ

ตรวจสอบลิฟต์

 

ตรวจสอบบันไดเลื่อน

 

การตรวจสอบระบบไฟฟ้าและระบบปรับอากาศ

(2.2) ระบบสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม

  • ระบบประปา
  • ระบบระบายน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสีย
  • ระบบระบายน้ำฝน
  • ระบบจัดการขยะมูลฝอย
  • ระบบระบายอากาศ
  • ระบบควบคุมมลพิษทางอากาศและเสียง

การตรวจสอบระบบประปาและระบบบำบัดน้ำเสีย

 

ตรวจสอบระบบระบายน้ำฝน ระบบกำจัดขยะมูลฝอย และระบบระบายควันและควบคุมการแพร่กระจาย

(2.3) ระบบป้องกันและระงับอัคคีภัย

  • บันไดหนีไฟและทางหนีไฟ
  • เครื่องหมายและไฟป้ายบอกทางออกฉุกเฉิน
  • ระบบระบายควันและควบคุมการแพร่กระจายควัน
  • ระบบไฟฟ้าสำรองฉุกเฉิน
  • ระบบลิฟต์ดับเพลิง
  • ระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้
  • ระบบการติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิง
  • ระบบการจ่ายน้ำดับเพลิง เครื่องสูบน้ำดับเพลิง และหัวฉีดน้ำดับเพลิง
  • ระบบดับเพลิงอัตโนมัติ
  • ระบบป้องกันฟ้าผ่า

การตรวจสอบบันไดหนีไฟและทางหนีไฟ เครื่องหมายและไฟป้ายบอกทางออกฉุกเฉิน ระบบไฟฟ้าสำรองฉุกเฉิน

 

ตรวจสอบระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ อุปกรณ์ดับเพลิง ระบบจ่ายน้ำดับเพลิง เครื่องสูบน้ำดับเพลิง และหัวฉีดน้ำดับเพลิง

 

ตรวจสอบระบบล่อฟ้า

3. ตรวจสอบสมรรถนะของระบบ และอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อการอพยพ

(1) สมรรถนะบันไดหนีไฟและทางหนีไฟ

(2) สมรรถนะเครื่องหมายและไฟป้ายทางออกฉุกเฉิน

(3) สมรรถนะระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้

4. ตรวจสอบระบบบริหารจัดการเพื่อความปลอดภัยในอาคาร

(1) แผนการป้องกันและระงับอัคคีภัยในอาคาร

(2) แผนการซ้อมอพยพผู้ใช้อาคาร

(3) แผนการบริหารจัดการเกี่ยวกับความปลอดภัยในอาคาร

(4) แผนการบริหารจัดการของผู้ตรวจอาคาร

| top | close | home |