ผู้นำแห่งการแปลงรูป (Transformational Leadership)
คำว่า Transformation ในภาษาอังกฤษ แปลว่า การเปลี่ยนรูป แปลงตัว จำแลง แปลง ซึ่งการแปลงรูปแปลงสถานการณ์ แปลงพฤติกรรม แปลงความคิด แปลงค่านิยม ละลายพฤติกรรมองค์กร ละลายพฤติกรรมพนักงาน ทั้งแรงต้านที่เกิดขึ้นให้องค์กรสามารถอยู่ได้นั้นคือความสามารถของผู้นำแห่งการแปลงรูป

ผู้นำแห่งการแปลงรูปเป็นผู้นำที่มีอิทธิพลต่อขวัญและกำลังใจของลูกน้อง ทำให้ลูกน้องตระหนักถึงความสำคัญของงาน และทุ่มเทแรงกายแรงใจเพื่อเปลี่ยนแปลงองค์กรในทางที่ดีขึ้น คำว่า "การเปลี่ยนแปลง" ในความหมายของผู้นำแห่งการแปลงรูป ก็คือ การเปลี่ยนแปลงองค์กรให้ดีขึ้น ผ่านการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และความคิดของลูกน้องในการทำงาน โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะทำให้ลูกน้องลดแรงต่อต้าน สร้างแรงสนับสนุน สร้างระบบการสื่อสารทำความเข้าใจภายในองค์กรให้เกิดแรงบันดาลใจเป็นหนึ่งเดียวกัน

จากรูปที่ 2 เราจะเห็นรูปแบบพฤติกรรมมนุษย์ในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นภารกิจที่สำคัญที่ผู้นำแห่งการแปลงรูปจะต้องแสดงบทบาทในการรองรับสิ่งที่จะเกิดขึ้นอย่างอดทน เพื่อให้บรรลุภารกิจ คือ การลดแรงต้านทาน สร้างแรงสนับสนุน ช่วงเวลาที่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลง จนถึงเกิดผลการเปลี่ยนแปลงจะต้องใช้เวลาที่เหมาะสม บนสถานการณ์ที่ต้องเดินไปข้างหน้า หากองค์กรใดไม่สามารถผ่านช่วงเวลานี้ได้องค์กรนั้นก็จะต้องเสียหายเป็นอย่างมาก ผู้นำการเปลี่ยนแปลงจึงต้องนำการแก้ปัญหาและสร้างความเข้าใจ และมั่นใจว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและองค์กรมีแนวทางในการบริหารจะนำพาให้พนักงานทุกคนมีความมั่นคงและองค์กรเจริญ ก้าวหน้า

และจากรูปที่ 1 เราจะเห็นว่าผู้นำแห่งการแปลงรูปจะต้องปรับเปลี่ยนค่านิยม ความเชื่อ ความเข้าใจ ฯลฯ ในสิ่งต่างๆ ที่ถูกหล่อหลอมจนพฤติกรรมขององค์กรให้มีทัศนคติร่วมกันจนเป็นวัฒนธรรมองค์กร ในทางเดียวกันหากมีการบริหารการเปลี่ยนแปลงก็จะต้องเริ่มตั้งแต่จุดเริ่มต้น จนให้เป็นพฤติกรรมองค์กรและทำให้เป็นวัฒนธรรมองค์กรแห่งการเปลี่ยนแปลงในที่สุด

ผู้นำแห่งการแลกเปลี่ยน (Transactional Leadership)
ผู้นำแห่งการแลกเปลี่ยนจะทำในทางตรงข้ามกับผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงที่มุ่งยกระดับความรู้และความสามารถของลูกน้องในระยะยาว ผู้นำแห่งการแลกเปลี่ยนจะมุ่งไปที่ความสำเร็จของงานในระยะสั้น โดยใช้หลักของการสร้างแรงจูงใจ (Motivation) โดยการให้รางวัลและสิ่งจูงใจเป็นเกณฑ์ในการบรรลุเป้าหมาย และมีบทลงโทษเป็นเครื่องมือในการทำงานหากการทำงานนั้นๆ ไม่บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้

ผู้นำแห่งการแลกเปลี่ยนกับทฤษฎีของมาสโลว์ การที่จะเป็นผู้นำที่ดีได้นั้น นอกจากจะต้องมีบารมีและวิสัยทัศน์แล้ว ผู้นำจะต้องเข้าใจในความต้องการพื้นฐานของลูกน้อง สำหรับผู้นำองค์กรแล้ว ทฤษฎีแห่งความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ ของ Abraham Maslow ที่เขียนขึ้นตั้งแต่ในปี ค.ศ. 1943 ยังใช้ได้ดีในปัจจุบัน ของคนเราจะเห็นว่าอยู่ในปัจจัยพื้นฐานของความต้องการของมนุษย์ตามลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์ (Hierarchy of Needs) ของ Maslow ได้แสดงให้เห็นความต้องการของมนุษย์จะสามารถแบ่งได้ตามลำดับขั้นของความจำเป็น Maslow ให้ความหมายคำว่า Needs คือ ความปรารถนาทางด้านร่างกายและจิตใจที่ยังต้องการมี มี 5 ขั้น กล่าวคือ

Step 1. Physiological Needs ความต้องการปัจจัยขั้นพื้นฐาน 4 ประการ คือ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค เป็นความต้องการเบื้องต้นขั้นพื้นฐานของมนุษย์ ตั้งแต่ในอดีตกาลจนถึงปัจจุบันเราจะเห็นได้ว่า ปัจจัยพื้นฐานบางสิ่งจึงอาจเป็นความฝันของผู้ที่ขาดแคลนที่ต้องการมีความสุขสบายในชีวิต

Step 2. Safety Needs ในขั้นที่ 2 มนุษย์ต้องการความปลอดภัยในชีวิต ความต้องการความปลอดภัยทางกาย สภาวะการทำงานที่ปลอดภัย ความมั่นคงในงาน เงินเดือน และค่าตอบแทน

Step 3. Social Needs ความต้องการการยอมรับจากสังคม จากเพื่อน จากผู้ร่วมงาน ปรารถนาที่จะอยู่เป็นหมู่ มีเพื่อนร่วมงานดีมีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า เจ้านายพอใจ และชื่นชอบ

Step 4. Esteem Needs ความมีชื่อเสียง มีเกียรติและการเคารพนับถือจากผู้อื่นรับผิดชอบงานชิ้นสำคัญ สนับสนุนให้มีตำแหน่งงานที่สูงขึ้นได้รับการยอมรับ นับถือ จากเจ้านาย

Step 5. Self-Actualization Needs การบรรลุในอุดมการณ์แห่งชีวิตของตนเอง มีความคิดสร้างสรรค์ และท้าทายในงานเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจความยืดหยุ่นในการทำงาน และความอิสระในการทำงาน

สมมติฐานที่สำคัญของผู้นำแห่งการแลกเปลี่ยน คือ การให้รางวัลและกำหนดบทลงโทษ เพื่อเป็นสิ่งกระตุ้นให้คนทำงาน และลูกน้องควรจะทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ผู้นำแห่งการแลกเปลี่ยนจะใช้การบริหารแบบสั่งให้ทำ (Telling Style) ต่างจากผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงที่ใช้การบริหารแบบขายแนวความคิด (Selling Style)

 

1 | 2 | 3