ผู้แบบผู้นำแบบ Active Management by Exception จะควบคุมดูแลลูกน้องให้ทำงานตามกรอบที่วางไว้ และทำการแก้ไขข้อบกพร่องอยู่ตลอดเวลา
รูปแบบผู้นำแบบ Passive Management by Exception จะทำการแก้ไขข้อบกพร่องเมื่อรับรู้ว่ามีความผิดพลาดเกิดขึ้นเท่านั้น โดยไม่ได้สนใจการทำงานของลูกน้องเท่าใดนัก ถ้าผู้นำนิ่งเฉยมากๆ ก็อาจเรียกว่าเป็น Laissez-Fair Leadership หรือไร้ความเป็นผู้นำเลยก็ได้
ผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง (Change Agent)
การเป็นผู้นำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนั้น ผู้นำจะต้องมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล (Vision) สามารถมองเห็น และคาดการณ์อนาคตและรู้ว่าควรจะต้องทำอย่างไรในการตอบสนองต่อวิสัยทัศน์ที่กำหนดขึ้น ด้วยการคิดในเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking) ว่าทำอย่างไรในการเข้าสู่เป้าหมาย จะวางกลยุทธ์หรือวิธีการอย่างไรเพื่อให้พันธกิจ (Mission) ที่วางไว้สำเร็จอย่างมีข้นตอนรวมถึงความคิดในมุมต่างๆ เพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ (Creativity and Innovation Thinking) ด้วยการนำความคิดเชิงระบบ (System Thinking) มาเป็นหลักในการพัฒนาระบบหรือกระบวนการทำงานให้ดียิ่งขึ้นซึ่งผู้นำเองต้องพร้อมที่จะยืดหยุ่น (Flexibility) และปรับเปลี่ยนตนเองให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้น และสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยในตัวผู้นำนั่นก็คือ ต้องเป็นผู้เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง (Continual Learning) และพัฒนาการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง (Increate Learning Curve) มีการรับรู้และยอมรับในข้อมูลใหม่ๆ รวมทั้งข้อมูลป้อนกลับจากผู้อื่น เพื่อนำข้อมูลต่างๆ ที่ได้รับมาให้มีการเปลี่ยนแปลงให้เป็นข้อมูลในรูปแบบสารสนเทศ (Information Technology) เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาและปรับปรุงองค์กร หน่วยงาน และทีมงานให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
บทความเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยภายนอกที่เกิดขึ้นตลอดเวลา การขับเคลื่อนองค์กรธุรกิจให้สามารถอยู่รอดมีความเจริญต่อเนื่อง คือ ผู้นำที่ดีที่สามารถนำพาองค์การให้ก้าวไปข้างหน้าอย่างยั่งยืนจะต้องมีการผสมผสานกันระหว่างความเป็นผู้นำแห่งการ
เปลี่ยนแปลงและผู้นำแห่งการแลกเปลี่ยน นั่นคือ ผู้นำแห่งการแลกเปลี่ยนย่อมเน้นการวางรากฐานและแนวทางของการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นขั้นเป็นตอน มีความเข้าใจในแรงต้านทางความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากบุคคล เพื่อให้บรรลุสู่วิสัยทัศน์ ส่วนผู้นำแห่งการแลกเปลี่ยน เป็นการสร้างแรงจูงใจบุคคลโดยการให้รางวัลและบทลงโทษ ดังนั้นผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงที่ดีคือผู้นำที่มีการใช้ทั้งสองแนวทางในการดำเนินการ เพื่อผลสุดท้ายคือเพื่อให้องค์กรมีประสิทธิภาพมากขึ้น
อย่างไรก็ดีการที่ผู้บริหารจะเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพสูงได้นั้น ผู้บริหารจะต้องมีทั้งความเป็นผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง (Change Agent) และ ผู้นำแห่งการแลกเปลี่ยน (Transactional Leadership) โดยจะต้องเป็นผู้นำที่ดีแห่งการแปลงรูป (Transformation Leadership) ที่ดีที่สามารถยอมรับการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้สถานการณ์เป็นปัจจัยที่สำคัญที่จะบ่งชี้ว่าควรใช้ภาวะผู้นำแบบไหน เมื่อไร ซึ่งในทางปฏิบัติการใช้ภาวะผู้นำแห่งการแลกเปลี่ยนในองค์การยังเป็นสิ่งที่จำเป็น เพื่อจูงใจให้พนักงานทำงานหนักขึ้น เพียงแต่การใช้ภาวะผู้นำแห่งการแลกเปลี่ยนอาจจะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จในระยะสั้นเท่านั้น เพราะความต้องการที่แท้จริงของบุคคลไม่ได้อยู่ที่การได้ขึ้นเงินเดือน หรือการได้เลื่อนตำแหน่งเสมอไป
การเปลี่ยนแปลงไม่ใช่แค่ "ความพยายาม" แต่คือการ "ปฏิบัติ" บนความที่ว่า "...สรรพสิ่งทั้งปวงล้วนอยู่ภายใต้กฎแห่งการเปลี่ยนแปลงด้วยกันทั้งสิ้น ดังนั้นการปฏิเสธการเปลี่ยนแปลงจึงเป็นการฝืนความเป็นจริงของกฎแห่งธรรมชาตินั่นเอง..." ซึ่งภารกิจต่างๆ จะตกอยู่ที่ผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง (Change Agent)