การจัดการการเปลี่ยนแปลง (Change Management)

เราจะเห็นว่าการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะองค์กรทุกประเภทจะต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมภายนอกตลอดเวลา แต่การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะความสลับซับซ้อนและความไม่แน่นอนของสภาพแวดล้อมมีสูงมาก การนำปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในมาหาว่าองค์กรควรจะทำเช่นไรจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ

กลยุทธ์ที่จะนำมาใช้มีสองทางนั่นคือ

  1. รอความคาดหวัง (Anticipate) ไม่มีการดำเนินการใดๆ เลย ปล่อยให้ความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นและคาดหวังเองว่าเหตุที่เปลี่ยนแปลงนั้นๆ จะเป็นผลดี
  2. เราต้องใช้กลยุทธ์ทางธุรกิจ คือ "การจัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management)" โดยเริ่มต้นที่
    • การวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลง
    • บทบาทของผู้นำการเปลี่ยนแปลง ดำเนินกระบวนการละลายพฤติกรรม กระบวนการเปลี่ยนแปลง การหล่อหลอมกระบวนการที่เกิดขึ้นให้คงอยู่ ส่งวัฒนธรรมที่ดีอยู่เดิมและสร้างวัฒนธรรมใหม่ให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
    • ให้จัดทำวิสัยทัศน์แห่งการเปลี่ยนแปลง, ภารกิจ, วัตถุประสงค์, แผนกลยุทธ์ และแผนปฏิบัติการที่เป็นแผนบริหารความเปลี่ยนแปลง
    • ให้ดำเนินการปฏิบัติทำคู่ขนานกัน โดยที่แผนรองต้องไม่กระทบต่อวัตถุประสงค์ของแผนหลัก และในปีต่อมาแผนรองจะรวมเข้าเป็นหนึ่งเดียวกับแผนหลัก

จะเห็นว่าการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมภายนอกและปัจจัยด้านความสามารถภายในของบุคลากร ทรัพยากรด้านจุดแข็ง จุดอ่อน เราจะได้แนวทางในการบริหารการเปลี่ยนแปลงด้วยเหตุด้วยผล และด้วยสถานการณ์ที่ควรจะเป็นการดำเนินการด้านกลยุทธ์

พึงจำไว้ว่า "...สรรพสิ่งทั้งปวงล้วนอยู่ภายใต้กฎแห่งการเปลี่ยนแปลงด้วยกันทั้งสิ้น ดังนั้นการปฏิเสธการเปลี่ยนแปลงจึงเป็นการฝืนความเป็นจริงของกฎแห่งธรรมชาตินั่นเอง..." องค์กรที่อยู่รอดได้ในวงจรธุรกิจ คือ องค์กรที่ไม่หยุดนิ่ง มีผู้บริหารที่มองเห็นสถานการณ์ และพยากรณ์ข้างหน้าได้อย่างถูกต้องแม่นยำ และมีความสามารถที่จะเป็นผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงที่จะนำพาองค์กรเจริญเติบโตไปข้างหน้าอย่างยั่งยืนและเงื่อนไขของความพอเพียง

 

 

1 | 2 | 3

แหล่งที่มา : วารสาร Engineering Today