สื่อสารและสร้างวัฒนธรรมองค์กรหัวใจสู่ความเป็นเลิศ

กระบวนการสื่อสารที่ชัดเจน การกำหนดการสื่อสาร เรื่องการประชุมที่สำคัญ โดยกำหนดรูปแบบการสื่อสาร จุดประสงค์ ผู้รับผิดชอบ ผู้เข้าร่วม และความถี่เวลาประชุมที่ชัดเจนตาม Plan และ Actual งานที่เกิดขึ้นจริง

การประชุมแต่ละระดับจะมีการกำหนดวิธีการดำเนินการประชุมที่ชัดเจน การจัดทำวาระและรายงานการประชุมตามวัตถุประสงค์การประชุม ต้องส่งรายงานการประชุมทุกระดับ จะเป็นตัวตรวจสอบได้ว่าการสื่อสารระดับองค์กรได้สื่อสารลงไปในบันทึกรายงานการประชุมของระดับย่อยลงไปได้ทั่วถึงหรือไม่

รูปแบบการสื่อสาร
จุดประสงค์
ผู้รับผิดชอบ
ผู้เข้าร่วม
ความถี่
EX-Com กำหนดนโยบายกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ กลยุทธ์
เข็มมุ่ง ทบทวนผลการดำเนินการระดับบริษัท
ผู้บริหารระดับสูง
MD/GM
ทุกสัปดาห์
GM-Com รายงานผลการดำเนินงานภายใน CBG ในรอบ
เดือนที่ผ่านมา ปัญหาอุปสรรคที่พบมาตรการที่ใช้ในการ แก้ไขปัญหาและสิ่งต่างๆ ที่ต้องการให้
เพื่อนร่วมงาน ในหน่วยงานได้รับทราบและปฏิบัติ
MD/GM
MD/GM/ผจก.ฝ่าย/ส่วน
ทุกเดือน
Tech-Com จัดทำแผนการดำเนินงาน จัดทำคู่มือและสื่อต่างๆ ด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ
GM
GM/SM/R&D ของ KW/ศูนย์ผึกอบรมการพิมพ์สกีน
ทุกเดือน
การประชุม "วันเพื่อนร่วมงานพบผู้บริหาร" เปิดโอกาสให้เพื่อนร่วมงานได้แสดงความเห็น หรือสอบถามเรื่องต่างๆ ที่ต้องการทราบโดยตรงกับผู้บริหารระดับสูง
MD
ตัวแทนแต่ละหน่วยงาน
ทุกเดือน
Morning Talk
ระดับองค์กร ถ่ายทอดนโยบายเรื่องราวต่างๆ ให้เพื่อนร่วมงานในฝ่ายทราบ
MD/GM
ทุคน
ทุกเดือน
ระดับฝ่าย ถ่ายทอดนโยบายเรื่องราวต่างๆ ให้เพื่อนร่วมงานในฝ่ายทราบ
ผจก.ฝ่าย
เพื่อนร่วมงานในฝ่าย
ทุกวัน

สร้างบรรยากาศการประชุมโดยการถามนำ กระตุ้นให้คนกล้าพูด กล้าถาม กล้าเสนอความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์ หากผู้เข้าร่วมประชุมคนใดตอบมาจะไม่มีการตำหนิ ตอบสิ่งใดมาจะบอกว่าถูกต้องหมด แต่จะใช้การถามให้คิดก่อนที่จะบอกให้รู้ พร้อมทั้งใช้หลักการ "จับถูก" เช่น หากเกิดความผิดพลาดการส่งของ จะถามถึงสาเหตุว่าทำไมถึงเกิดการส่งของผิดแทนที่จะสอบว่าใครเป็นคนส่งผิด? ซึ่งหากถามถึงสาเหตุโดยไม่แตะตัวบุคคลจะทำให้ไม่เกิดการแก้ตัว แต่จะช่วยกันเสนอแนะถึงวิธีการแก้ปัญหา

นอกจากนี้มีการจัดทำตารางมอบอำนาจตาม Work Process โดยให้อำนาจพร้อมกับหน้าที่บริหารงานเน้นการลงมือทำมากกว่าการพูดวิจารณ์อย่างเดียว ซึ่งผู้บริหารต้องทำให้เห็นเป็นแบบอย่าง (Role Model)

เปรียบเหมือนกับหากเราสั่งให้ลูกน้องกระโดดลงไปในบ่อน้ำแห่งหนึ่ง ซึ่งทุกคนต่างไม่เคยรู้จักคุ้นเคยมาก่อน หากผู้บริหารเอาแต่สั่งให้ลูกน้องกระโดดลงไปในบ่อน้ำ แต่ตนเองไม่กระโดดลงไปร่วมด้วย ลูกน้องเองก็คงไม่กล้ากระโดดลงไป คงคิดว่าขนาดหัวหน้ายังไม่กล้ากระโดด แล้วตัวเองกระโดดลงไปจะเจออะไรก็ไม่รู้ ดังนั้น หากเราในฐานะผู้นำ จำเป็นจะต้องกล้ากระโดดลงไปก่อนให้เห็นเป็นแบบอย่าง ลูกน้องจึงจะศรัทธาและเชื่อผู้นำทำตาม

 

1 | 2 | 3