วัฒนธรรมองค์กร ปัจจัยสู่ความสำเร็จขององค์กร

อุปสรรคทางวัฒนธรรมเป็นตัวที่ก่อให้เกิดความยุ่งยากลำบากที่จะจัดการแก้ไขปัญหาต่างๆ เป็นร้อยเท่าหากเทียบกับอุปสรรคปัญหาจากเรื่องกระบวนการหรือเทคนิค ซึ่งอุปสรรคทางวัฒนธรรม เช่น พวกที่ชอบปฏิเสธก่อนล่วงหน้าว่าทำไม่ได้ หากมีอะไรแปลกใหม่มักจะบอกกับตนเองและผู้อื่นก่อนว่า "มันทำไม่ได้หรอก"

แนวทางแก้ไขสำหรับพวกที่ชอบคิดปฏิเสธล่วงหน้าทำไม่ได้ ซึ่งจะเลือกสรรคนที่จะเข้ามาทำงานในองค์กรให้เหมาะสมกับองค์กร โดยคัดเลือกคนที่มีทัศนคติที่เหมาะสมจากการให้ทำแบบทดสอบทางจิตวิทยา คัดเลือกคน โดยต้องมองว่าทุกปัญหามีทางออก มิใช่มองทุกทางออกมีแต่ปัญหา

ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการสื่อสารการสร้างวัฒนธรรมองค์กร คือ

ประการที่ 1 ผู้นำต้องเป็นแบบอย่าง จริงใจและจริงจังติดตามผล ทำให้พนักงานเชื่อในสิ่งที่ตนทำมากกว่าสิ่งที่พูดโดยได้ยกคำวลีกล่าวว่า "Leadership : Do Right Thing, Managers : Do Thing Right"

ประการที่ 2 คือ การทำงานเป็นทีมโดยเปรียบเทียบว่าแต่ละหน่วยงานเหมือนอวัยวะต่างๆ ในร่างกายเดียวกันจะต้องทำงานประสานร่วมกัน เช่น หากขาเหยียบตะปูใครจะเป็นคนถอนตะปูออกให้ ฝ่ายจัดซื้อ เปรียบเหมือนกับปาก ฝ่ายคลังสินค้า เปรียบเหมือนท้อง หากท้องต้องการอาหาร เหมือนคลังต้องการสินค้า แต่ปากคือฝ่ายจัดซื้อไม่ให้ความร่วมมือ ไม่ยอมสั่งอาหารเข้าปาก ร่างกายก็คงแย่ ส่งผลเสียร่วมกัน ดังนั้นการทำงานเป็นทีมจึงเป็นสิ่งสำคัญสามารถยืดหยุ่นทำงานทดแทนกันได้ หากแต่ละหน่วยงานถูกถามว่าอยู่ฝ่ายส่วนงานไหน สิ่งที่ย้ำคือ ทุกคนไม่ได้แบ่งแยกว่าฝ่ายใคร ฝ่ายมัน ทุกคนทำงานร่วมมือกัน

ประการสุดท้าย การต้องร่วมมือร่วมใจสร้างและปฏิบัติตามวัฒนธรรม ค่านิยมและจรรยาบรรณขององค์กรการจะทำให้สิ่งที่ปฏิบัติถูกฝังลึกไว้ในองค์กร

  เคล็ดไม่ลับของการสื่อสาร และสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้สำเร็จ

การสื่อสารและสร้างวัฒนธรรมองค์กรไว้ตามขั้นตอน PDCA ของ Dr.Deming

ขั้นวางแผน (Plan)

  1. ความเข้าใจที่ถูกต้อง (Right Understanding)
  2. ความคิดที่ถูกต้อง (Right Thinking) เมื่อเข้าใจถูกก็จะคิดได้ถูกว่าควรจะต้องทำงานอะไรบ้าง

ขั้นดำเนินการ (Do)

  1. ความเข้าใจที่ถูกต้อง (Right Understanding)
  2. ความคิดที่ถูกต้อง (Right Commitment) โดยต้องคำนึงถึง 5W 2H

ขั้นตรวจสอบ (Check)

  1. การควบคุมที่ถูกต้อง (Right Monitoring) ต้องควบคุมที่เหตุมากกว่าการควบคุมที่ผล
  2. การประเมินที่ถูกต้อง (Right Assessment) โดยเน้นจับถูก มิใช่จับผิด เพื่อหาจุดที่ต้องส่งเสริมและปรับปรุง

ขั้นปรับปรุงแก้ไข (Act)

  1. การปรับปรุงที่ถูกต้อง (Right Aligment) เน้นให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เปรียบเทียบเหมือนพลังแห่งแม่เหล็กที่เกิดจากการจัดเรียงโมเลกุลของแท่งเหล็กให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เหล็กธรรมดาก็จะมีพลังขึ้นมาได้ทันที โดยการปรับทัศนคติคนละทิศทางให้ทุกคนเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
  2. การพัฒนาที่ถูกต้อง (Right Development) โดยเน้นเรื่องของคุณภาพที่ต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องนั่นคือ กรที่ทำให้ลูกค้ากลับมาหา ไม่ใช่สินค้ากลับมาหา
     

1 | 2 | 3