1. การวัดผลิตภาพแบบแยกส่วน (Individual Productivity) เป็นการวัดผลิตภาพเชิงกายภาพ ซึ่งเกี่ยวข้องกับปัจจัยการผลิต เช่น ผลิตภาพแรงงาน ผลิตภาพเครื่องจักร ผลิตภาพการใช้วัสดุ เนื่องจากหน่วยวัดผลิตภาพได้มีความแตกต่างตามประเภทปัจจัย ดังนั้นจึงต้องพิจารณาแยกส่วนกันหรืออาจเรียกว่า "Partial Productivity" ซึ่งวัดแบบแยกส่วนได้มีบทบาทสนับสนุนการตรวจสอบทรัพยากรแต่ละส่วนได้ถูกใช้ไปอย่างมีประสิทธิภาพอย่างไรโดยสามารถนิยามและแสดงความสัมพันธ์ได้ ดังนี้

    • ผลิตภาพแรงงาน แสดงด้วยปริมาณผลิตผลต่อหน่วยปัจจัยนำเข้า (แรงงาน) เช่น จำนวนชั่วโมงแรงงาน แรงงานที่ใช้ ค่าแรงงาน

    • ผลิตภาพเครื่องจักร แสดงด้วยปริมาณผลิตผลจากกระบวนการเทียบกับปัจจัยนำเข้าที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักร (Equipment Input) เช่น จำนวนชั่วโมงการเดินเครื่องจักร (Machine-Hour) ค่าใช้จ่ายการเดินเครื่องจักร

    • ผลิตภาพการใช้วัสดุ แสดงด้วยปริมาณผลิตผลจากกระบวนการผลิตเทียบต่อหน่วยปริมาณวัสดุที่นำเข้าสู่กระบวนการแปรรูป

     2.  ผลิตภาพโดยรวม (Toptal Productivity) เป็นการวัดผลิตผลที่เกิดจากการนำปัจจัยนำเข้าหรือทรัพยากรมากกว่าหนึ่ง
          ปัจจัยเพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร หรือปัจจัยนำเข้าในกระบวนการแปรรูป นั่นคือ การประเมินมูลค่าผลิตผลต่อ
          มูลค่ารวมของทรัพยาการ เช่น แรงงาน วัตถุดิบ พลังงาน เป็นต้น ซึ่งปัจจัยนำเข้ามักแสดงด้วยหน่วยที่แตกต่างกัน ด้วยเหตุนี้
          จึงต้องแปลงปัจจัยและแสดงด้วยมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ (Economic Value) เช่น ปัจจัยแรงงาน (Labor Input) แสดงด้วย
          ค่าแรงงานและผลิตผล (Output) แสดงด้วยมูลค่าจากยอดขาย

การปรับปรุงผลิตภาพ สำหรับกิจกรรมปรับปรุงผลิตภาพตามแนวทาง TPM จะมุ่งสร้างผลิตผลเพื่อให้เกิดผลกำไรสูงสุดหรือการให้บริการเป็นเลิศกับลูกค้าโดยผู้บริหารส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับสองประเด็นหลัก นั่นคือ

 

1 | 2 | 3