• ข้อบังคับด้านโครงสร้าง (Structural Requirments)
    เพื่อให้อาคารมีความแข็งแรงเพียงพอที่จะต้านทางแรงหรือน้ำหนักบรรทุกได้โดยไม่เกิดการวิบัติ ได้แก่ ข้อกำหนดเกี่ยวกับน้ำหนักบรรทุกประเภทต่างๆ ข้อกำหนดเกี่ยวกับฐานราก

  • ข้อบังคับด้านความปลอดภัยในการใช้วัสดุก่อสร้าง (Building Material Reuirements)
    เป็นข้อกำหนดที่เกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้วัสดุก่อสร้างที่นอกเหนือจากวัสดุโครงสร้าง เช่น กระจก แผ่นยิปซัม พลาสติก วัสดุหุ้มผนังภายนอก และหลังคา เป็นต้น

  • ข้อบังคับด้านระบบอาคาร (Building System Requirments)
    เป็นข้อบังคับเกี่ยวกับระบบบริการของอาคาร ได้แก่ ข้อกำหนดด้านวิศวกรรมไฟฟ้างานวิศวกรรมเครื่องกล และงานวิศวกรรมสุขาภิบาล โดยข้อบังคับเหล่านี้อาจมีการแยกเป็นข้อบังคับเฉพาะด้าน เช่น electrical Code, Mechanical Code หรือ Plumbing Code เป็นต้น

  • ข้อบังคับด้านการอนุรักษ์พลังงาน (Energy Efficiency)
    ปัจจุบัน Building Code ในหลายประเทศได้ให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์พลังงาน

  • ข้อบังคับในการก่อสร้างอาคารลักษณะพิเศษ (Special Construction)
    เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคารลักษณะพิเศษ เช่น การก่อสร้างโครงสร้างแผ่นบาง การก่อสร้างอุโมงค์ใต้ดิน โครงสร้างที่ใช้อากาศอัด โครงสร้างที่ใช้เคเบิล และโครงสร้างชั่วคราว เป็นต้น

  • ข้อบังคับด้านความปลอดภัยในการก่อสร้าง (Construction Practices and Safety)
    เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับความปลอดภัยในการก่อสร้าง และรื้อถอนอาคาร นอกจากนี้ยังครอบคลุมถึงข้อกำหนดในการทดสอบและตรวจสอบในระหว่างการก่อสร้างด้วย

  • ข้อบังคับสำหรับอาคารที่ก่อสร้างแล้ว (Existin Building)
    ข้อกำหนดเกี่ยวกับการดัวแปลง ต่อเติม หรือการเปลี่ยนแปลงการใช้อาคารที่มีอยู่แล้ว เป็นต้น
 

4. ความเหมือนที่แตกต่างของ Building Code และมาตรฐาน

ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า Building Code เป็นข้อบังคับที่ต้องยึดปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยและผาสุกต่อสาธารณะเป็นสำคัญ ส่วนมาตรฐาน (Standard) เป็นหลักเกณฑ์แนวทาง ข้อแนะนำ รายการ หรือวิธีของการปฏิบัติ มาตรฐานไม่ได้บังคับให้ต้องปฏิบัติ แต่เมื่อใดที่มาตรฐานนั้นข้ามเส้นไปเป็นข้อบังคับ (Regulations หรือ Compulsory Standards)


1 | 2 | 3 | 4 | 5