7. ทิศทางของ Building Code ในอนาคต

การกำหนดข้อบังคับในการก่อสร้างอาคารเสนอแนวคิดที่เปลี่ยนจากลักษณะจาก "ข้อบังคับในการดำเนินการ" มาเป็น "ข้อบังคับตามสมรรถนะ (Performance-Base Requirements)" ซึ่งเป็นข้อบังคับที่เน้น "ผลลัพธ์ (Result)" มากกว่าการกำหนดเป็นวิธีดำเนินการเหมือนเช่นที่ผ่านมา แม้ผู้อ่านจะไม่ได้เป็นช่างหรือเกี่ยวข้องกับการก่อสร้างก็สามารถเข้าใจได้

ในปัจจุบันมีประเทศที่ใช้ข้อบับคับตามสมรรถนะอยู่หลายประเทศ เช่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อังกฤษ สวีเดน ญี่ปุ่น หรือแม้แต่ประเทศเพื่อนบ้านของเราอย่างมาเลเซียก็ได้นำข้อบังคับตามสมรรถนะมาใช้ด้วยเช่นกัน

8. Building Code ของประเทศไทย

ปัจจุบันมีผู้สงสัยเป็นจำนวนมากกว่าประเทศไทยมี Building Code เป็นของตนเองแล้วหรือยัง หากพิจารณาตามความหมายของลักษณะและการบังคับใช้แล้ว สิ่งที่มีอยู่และใกล้เคียงกับ Building Code มากที่สุดในขณะนี้ ได้แก่ กฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 รวมถึง กฎกระทรวงหรือประกาศเกี่ยวข้องกับการก่อสร้างที่ออกตามความในพระราชบัญญัติอื่น

9. บทสรุป

Building Code มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การก่อสร้างและการใช้อาคารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนเป็นสำคัญ ประเทศไทยในปัจจุบันมีกฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัติต่างๆ ที่มีความใกล้เคียงกับ Building Code มากที่สุด แต่ข้อบังคับเหล่านั้นยังไม่ได้รับการจัดให้เป็นหมวดหมู่ที่ชัดเจน แต่อย่างไรก็ตามหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังดำเนินการเพื่อให้การจัดทำ Building Code ของประเทศมีรูปแบบที่ชัดเจนมากกว่านี้

การปฏิบัติตาม Building Code ไม่ได้รับประกันว่าการก่อสร้างและการใช้อาคารจะเกิดความปลอดภัยอย่างสมบูรณ์ เนื่องจาก Building Code ไม่สามารถครอบคลุมและรองรับทุกสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นกับการก่อสร้างได้ จิตสำนึกที่ดี ความเอาใจใส่ และความรับผิดชอบของสถาปนิก วิศวกร ผู้ก่อสร้าง และผู้ที่เกี่ยวข้อง


1 | 2 | 3 | 4 | 5