-
การเก็บและวางท่อก่อนนำไปใช้งานต้องไม่วางราบบนพื้นดินเพราะจะทำให้ท่อสกปรก และเป็นสนิมได้ง่าย ตามปกติท่อเหล็กดำที่ส่งมาจากโรงงานผู้ผลิตสำหรับขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 3 นิ้ว มักมีฝาครอบพลาสติกปิดหัวท้ายมาให้ด้วย เพื่อป้องกันสิ่งสกปรกเข้าไปค้างและปากท่อบิ่น ส่วนท่อขนาดใหญ่มีแหวนเหล็กปิดหัวท้ายป้องกันปากท่อบิ่น หากเป็นท่อเหล็กชุบสังกะสีก็มีข้อต่อ (Socket) ขันเกลียวติดไว้ที่ปลายท่อ 1 ตัว ต้องหมุนข้อต่อเข้าไปให้เกือบสุดเกลียวเพื่อป้องกันเกลียวบิดเวลาถูกกระแทกหรือขณะขนส่ง วิธีเก็บท่อที่ดีต้องวางบนขาตั้ง (Rack) สูงจากพื้นประมาณ 30 ซม. โดยมีจุดรับน้ำหนักท่อห่างกันไม่เกิน 4 เมตร และมีระยะหัวท้ายท่อจากจุดรับแรงห่างเท่ากันเพื่อความสะดวกเวลานำท่อไปใช้งานและท่อไม่คดงอ
-
ก่อนนำท่อเข้าที่ติดตั้งควรไล่สิ่งสกปรกในท่อออกให้หมด และยกท่อขึ้นส่องดูตลอดความยาวว่าไม่มีอะไรหลงเหลืออยู่ภายใน ที่พบส่วนมากจะเป็นท่อนไม้ที่ใช้สอดปลายท่อเวลาขนย้ายไปติดตั้งแล้วไม่ได้เอาออกหรือไม้หักค้างอยู่ข้างใน เมื่อติดตั้งเสร็จปรากฏว่าน้ำไหลในท่อน้อยกว่าที่ควรจะเป็นต้องเสียเวลาตรวจท่อทั้งระบบนานกว่าจะพบสาเหตุ เรื่องนี้จะโทษใครดี?
-
ท่อน้ำเย็น (Chilled Water Pipe) และท่อน้ำหล่อเย็น (Condenser Pipe) ที่ติดตั้งในแนวนอนต้องติดตั้งให้ได้ระดับไม่มีการลาดเอียงเพื่อป้องกันอากาศขังภายในทำให้น้ำในท่อไหลน้อยลง
-
ท่อน้ำทิ้งจากเครื่องส่งลมเย็นต้องมี Trap และลาดเอียงไปทางปลายทางไม่น้อยกว่า 1 นิ้ว ต่อความยาว 10 ฟุต หรือ Slope ประมาณ 1 ต่อ 100 หาก Slope น้อยกว่า 1 ต่อ 100 ให้เลือกขนาดท่อใหญ่ขึ้นถัดไป ตามตารางดังต่อไปนี้
ขนาดท่อน้ำทิ้ง เส้นผ่านศูนย์กลาง (นิ้ว) |
ขนาดเครื่องส่งลมเย็น ตันความเย็น |
ท่อแนวนอน |
ท่อแนวตั้ง |
3/4 |
0 - 2 |
0 - 3 |
1 |
2 - 5 |
3 - 8 |
1- 1/4 |
5 -30 |
8 - 50 |
1 - 1/2 |
30 - 50 |
50 - 75 |
2 |
50 - 170 |
75 - 250 |
3 |
170 - 300 |
250 - 400 |
4 |
300 - 430 |
400 - 600 |
5 |
430 - 600 |
600 - 900 |
-
ความเร็วของน้ำในท่อของระบบปรับอากาศต้องไม่ช้าเกินไปจนทำให้ไม่สามารถพาตะกอนไปได้ และไม่เร็วเกินไปซึ่งจะทำให้ท่อสึกกร่อน ทั่วๆ ไปความเร็วจะอยู่ในช่วง 2-8 ฟุตต่อวินาที (0.6-2.5 เมตรต่อวินาที) ขนาดท่อหาได้ตามราตางต่อไปนี้
ปริมาณน้ำไหลในท่อ
(ยูเอส แกลลอนต่อนาที) (US. GPM) |
ขนาดท่อ
เส้นผ่านศูนย์กลาง (นิ้ว) |
0 - 2 |
1/2 |
2 - 5 |
3/4 |
5 - 10 |
1 |
10 - 20 |
1 1/4 |
20 - 30 |
1 1/2 |
30 - 50 |
2 |
50 - 90 |
3 |
90 - 150 |
4 |
150 - 300 |
4 |
300 - 500 |
5 |
500 - 750 |
6 |
750- 1,300 |
8 |
1,300 - 2,000 |
10 |
2,000 - 3,000 |
12 |
3,000 - 3,500 |
14 |
3,500 - 4,200 |
16 |
4,200 - 5,000 |
18 |
5,000 - 6,000 |
20 |
-
ท่อน้ำและสายไฟฟ้าที่เดินคร่อมกันต้องให้สายไฟอยู่เหนือท่อน้ำเสมอ ถ้าจำเป็นต้องเดินท่อน้ำเหนือสายไฟควรมีรางใต้ท่อป้องกันน้ำหยดลงบนสายไฟ และข้อต่อท่อในแนวตรง (Socket) ต้องอยู่ห่างจากสายไฟไม่น้อยกว่า 1 เมตร
-
พยายามหลีกเลี่ยงการเดินท่อน้ำผ่านห้องไฟฟ้า และเหนือตู้ไฟเพราะว่าถ้าท่อรั่วหรือน้ำหยดลงบนอุปกรณ์ไฟฟ้าอาจทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจร หรือตู้ไฟระเบิดได้ ในกรณีที่ไม่มีทางเลี่ยงต้องทำรางรองน้ำใต้ท่อโดยให้ปลายรางทั้งสองด้านยื่นเลยออกไปจากอุปกรณ์ไฟฟ้าที่อยู่ใต้ราง
-
การแขวน, ยึด ทำขารับน้ำหนักท่อ (Hanger, Support) ต้องคำนึงถึงลักษณะการใช้งาน, สถานที่ติดตั้ง, น้ำหนักของท่อและน้ำในท่อรวมทั้งอุปกรณ์ที่ติดตั้งบนท่อเป็นหลักในการพิจารณาเลือกชนิดและขนาดของ Hanger, Support โดยทั่วไปการแขวนท่อกับ Slab คอนกรีตมักจะใช้ Expansion Bolt เป็นตัวยึดเหล็กแขวนกับพื้นหรือคานคอนกรีต การใช้ปืนยิงตะปูยึด (Power Actuated Pin) ไม่เป็นที่นิยมเพราะรับน้ำหนักได้น้อย และคอนกรีตอาจแตกร้าวขณะใช้ปืนยิง ระยะห่างระหว่างเหล็กแขวนท่อใช้ประมาณ 3 เมตร หรือดูตารางในแบบ หรือรายละเอียดประกอบแบบเป็นเกณฑ์เพื่อไม่ให้ท่อขนาดเล็กตกท้องช้าง (SAG) และเหล็กกับพื้นคอนกรีตรับน้ำหนักต่อจุด (Point Load) มากเกินไปสำหรับท่อขนาดใหญ่ จุดยึดแขวนท่อต้องไม่ตรงกับข้อต่อ หากมีวาล์วหรืออุปกรณ์ที่มีน้ำหนักมากบนท่อต้องเพิ่มจุดยึดแขวนท่อใกล้อุปกรณ์นั้นๆ ทั้ง 2 ด้าน
- จุดยึดท่อ (Clamp) ในแนวดิ่ง (Vertical Riser) ไม่ควรอยู่สูงกว่า 1.50 เมตรจากพื้นของแต่ละชั้นเพื่อให้ช่างทำงานได้สะดวกโดยไม่ต้องใช้นั่งร้านหรือบันได
-
Support ของท่อแนวนอนระดับพื้นมักจะไม่มีปัญหาเรื่องน้ำหนัก นอกจากท่อขนาดใหญ่ เช่นท่อบริเวณ Cooling Tower ที่เดินบนหลังคา ปัญหาที่คำนึงถึงก็คือการแอ่นของท่อเนื่องจากน้ำหนักท่อเอง และน้ำในท่อระยะ Support จะแตกต่างกันไปตามขนาดท่อดังนี้
ขนาดท่อ
เส้นผ่านศูนย์กลาง (นิ้ว) |
ระยะห่างระหว่างจุดรับน้ำหนัก |
ท่อแนวนอน (เมตร) |
ท่อแนวดิ่ง (เมตร) |
1/2 |
1.8 |
2.1 |
3/4 |
2.1 |
2.4 |
1 |
2.4 |
2.7 |
1 - 1/4 |
2.4 |
2.7 |
1 - 1/2 |
2.7 |
3.0 |
2 |
3.0 |
3.3 |
2 - 1/2 |
3.3 |
3.6 |
3 |
3.6 |
4.0 |
4 |
4.3 |
4.6 |
5 |
4.9 |
5.2 |
6 |
5.2 |
5.5 |
8 |
5.5 |
5.8 |
10 |
5.5 |
6.0 |
12 |
5.5 |
6.4 |
14 |
5.5 |
6.7 |
16 |
5.5 |
7.0 |
18 |
5.5 |
7.3 |
20 |
5.5 |
7.6 |
24 |
5.5 |
7.9 |
30 |
5.5 |
8.2 |
-
ท่อน้ำควรมีรหัส, Pipe Color Code , ป้ายชื่อติดไว้ในลักษณะที่เห็นได้ง่าย ทิศทางการไหลของน้ำในท่อก็เป็นสิ่งจำเป็น ส่วนมากมักใช้ลูกศรขนาดพอเหมาะกับท่อ ติดหรือพ่นสีบนท่อ สีที่ใช้จะต้องเห็นเด่นชัด
|
|
|
Pipe Color Code และ Flow Direction Arrow |
|
Insulation & Pipe Color Code |
-
ท่อระดับพื้นที่หักงอขึ้น Riser ต้องมี Support รับน้ำหนักท่อตรงข้องอ ถ้าหากจำเป็นต้องป้องกันแรงกระแทก (Shock Load) ของน้ำด้วยก็ต้องมีค้ำยันที่แข็งแรงในแนวที่คาดว่าจะเกิดแรงกระแทก โดยทั่วไปใช้เหล็กแผ่นเชื่อมหรือทำแท่นคอนกรีตเสริมเหล็กยันในแนว 45 องศากับโค้งด้านนอกของข้องอ
-
จุดต่ำสุดของ Riser ทุกท่อควรมี Gate Valve ขนาด 3/4" Ø หรือ 1” Ø เอาไว้สำหรับระบายน้ำใน Riser หรือถ่ายตะกอนออก อย่าลืมต่อท่อสั้นๆ ประมาณ 20 ซม. จากวาล์วและมี Cap ปิดปลายจะทำให้ต่อท่อออกไปทิ้งได้สะดวก
-
การเดินท่อจากแนวนอนลงสู่ระดับที่ต่ำกว่าโดยดูจากทิศทางการไหลของน้ำ อากาศจะขังอยู่ที่ข้องอ จำเป็นต้องติด Automatic Air Vent บนท่อที่ระดับสูงส่วนที่ใกล้ข้องอ โดยมี Gate Valve ที่ท่อก่อนเข้า Automatic Air Vent เอาไว้ปิดเวลาถอดซ่อมและต้องต่อท่อจาก Air Vent ไปที่จะระบายน้ำด้วยเพราะอาจมีน้ำไหลออกมากรณีที่มีสิ่งสกปรกค้างที่ลูกลอย
-
ท่อน้ำที่ต่อเข้าเครื่องจักรหลักซึ่งมีการสั่นสะเทือนต้องต่อด้วย Flexible Connection เพื่อป้องกันการสั่นสะเทือนของเครื่องส่งถ่ายไปให้ท่อ เช่น เครื่องสูบน้ำ และเครื่องทำน้ำเย็น ถ้าเครื่องมีสปริงรองฐานก็จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใส่ Flexible Connection เพราะตัวเครื่องจะเคลื่อนตัวมากกว่าแบบอื่น การติดตั้ง Flexible Connection ให้ใส่ในส่วนท่อตรงที่ใกล้เครื่องมากที่สุดทั้งทางด้านเข้าและด้านออก ปกติกำหนดให้ใช้ Flexible Connection แบบสเตนเลสถักยาวไม่น้อยกว่า 4 เท่าของขนาดเส้าผ่านศูนย์กลางท่อ 4 นิ้วลงมา ส่วนท่อขนาดตั้งแต่ 5 นิ้วขึ้นไปต้องยาวไม่น้อยกว่า 2 เท่าของขนาดท่อ ในบางกรณีก็ใช้ชนิดทำด้วยยางความยาวจะสั้นลงไปอีก การเลือกใช้แบบทำด้วยยางต้องคำนึงถึงความดันของน้ำในท่อด้วย หากความดันสูงเกินไปยางจะปริแตกหรือรั่วซึม ทั้งนี้ ขณะที่ระบบปรับอากาศทำงานอยู่ Gate Valve ดังกล่าวควรอยู่ในตำแหน่งเปิด และปิด Cap ให้แน่นสนิท หากต้องการจะถ่ายตะกอนออกจะต้องปิด Gate Valve ก่อนจึงถอด Cap และต่อท่อสายอ่อนไปที่จุดระบายน้ำทิ้งแล้วจึงทำการเปิด Gate Valve อีกครั้งหนึ่ง หลังจากถ่ายตะกอนออกหมดแล้วก่อนเพิ่มน้ำให้ปิด Cap ให้สนิท และเปิด Gate Valve ไว้ดังเดิมเพื่อมิให้ Valve Disc ชำรุดก่อนกำหนดเนื่องจากรับน้ำหนักน้ำใน Riser ตลอดเวลา
-
ท่อน้ำที่ต่อในแนวตรงหากยาวมากและอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงมากจะทำให้ท่อยืดหดต้องใส่ Expansion Joint เนื่องจากอุณหภูมิขณะติดตั้งท่อและขณะใช้งานไม่เท่ากัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่อที่เดินบนหลังคาไม่มี Insulation หุ้มเช่นท่อน้ำหล่อเย็นบริเวณ Cooling Tower ถูกแดดเผาบ้าง ถูกฝนบ้าง และอุณหภูมิกลางคืนก็เย็นกว่ากลางวันท่อจะยืดหดตลอดวัน หากไม่ใส่ Expansion Joint ก็อาจทำให้ท่อแตกหักหรือพื้นอาคารแตกร้าวได้ การยืดหดตัวของท่อโลหะมีค่าประมาณดังนี้
ชนิดท่อ |
การยืดหดตัวตามยาวของท่อ
(นิ้ว/100 ฟุต/100 องศา F) |
ท่อเหล็ก |
0.8 |
ท่อทองแดง |
1.1 |
ท่อสเตนเลส |
1.1 |
-
ท่อ Branch ที่แยกออกจากท่อประธานให้ใช้สามตา (Tee) มาตรฐานเท่านั้น นอกจากในห้องเครื่องสูบน้ำ, เครื่องทำน้ำเย็น และใน Trench ท่อเมนตั้งแต่ 8 นิ้วขึ้นไปใช้วิธีเจาะท่อในแนว 45 องศาก็ได้ ส่วน Weld-O-Let จะใช้ได้กับท่อเมนตั้งแต่ 8 นิ้วขึ้นไปและท่อ Branch ที่ต่อออกไปต้องมีขนาดไม่เกินครึ่งหนึ่งของขนาดท่อประธาน
|
การจัดท่อน้ำบริเวณเครื่องสูบน้ำ |
-
ท่อในแนวตรงจะต้องติดตั้งให้มีจุดต่อน้อยที่สุด ห้ามใช้เศษท่อต่อกัน ความยาวท่อมาตรฐานเท่ากับ 6 เมตร หรือ 20 ฟุต พยายามใช้ให้หมดเส้นหรือเหลือเศษน้อยที่สุด ทั้งนี้อยู่ที่การจัดระเบียบการใช้ท่ออย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการติดตั้งลงได้มาก
-
พยายามอย่าให้น้ำหนักท่อและอุปกรณ์กดลงบนเครื่องจักรทุกชนิด ซึ่งอาจทำให้ข้อต่อบิด, แตก, รั่วซึม หรือเครื่องเสียหายได้ ต้องพิจารณาตำแหน่ง Hanger, Support ให้เหมาะสมและแข็งแรง
-
ไม่ควรติดตั้งวาล์วใกล้ Elbow และ Tee หากวาล์วอยู่ทางด้านเหนือน้ำโดยดูจาก Tee เป็นหลักจะทำให้น้ำไหลเข้า Branch ไม่สะดวก หรือถ้าอยู่ด้านใต้น้ำ แรงดันที่หน้าวาล์วจะต่างกันมากทำให้บิดและติดขัดได้ หากมีที่พอให้ติดตั้งวาล์วห่างจาก Elbow และ Tee ไม่น้อยกว่า 4 เท่าของขนาดท่อ โดยเฉพาะทางด้านใต้น้ำ ทั้งนี้ก็เพื่อให้การปั่นป่วนของน้ำ (Turbulence) ลดลงก่อนถึงวาล์วทำให้การทำงานของวาล์วดีขึ้น
-
Elbow ที่ใช้ควรใช้แบบ Long Radius Elbow เพื่อให้เกิด Pressure Drop น้อยที่สุดเป็นการประหยัดพลังงานของเครื่องสูบน้ำ
-
ตรงรอยต่อของท่อเชื่อมต้องปาดหน้ารอยต่อในแนว 30-45 องศา เพื่อให้ลวดเชื่อมหลอมลงอุดรอยเชื่อมได้มาก ทำให้แข็งแรง รอยเชื่อมต้องนูนออกมาจากผิวท่อโดยรอบ การเชื่อมที่ขาดตอนก่อนเชื่อมใหม่ต้องเคาะ Slag ออกให้หมดแล้วขัดด้วยแปรงลวดให้สะอาดทุกครั้ง
-
ข้อต่อ, Fitting และวาล์ว ควรอยู่ห่างจาก Sleeve พอสมควรเพื่อให้การทำงานขณะติดตั้ง และถอดเปลี่ยนในภายหลังทำได้สะดวก เมื่อทำ Riser ทะลุผ่านพื้นไม่ควรให้ข้อต่อและวาล์วอยู่สูงเกิน 1.5 เมตร จากพื้นห้องซึ่งช่างสามารถยืนทำงานหรือปิด-เปิดวาล์วได้โดยไม่ต้องใช้บันได
-
เกลียวท่อมี 2 แบบ คือ แบบธรรมดาเกลียวเสมอกันหมด และแบบ Taper โดยที่ยอดเกลียวจะมีเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กไปหาใหญ่โดยดูจากปลายท่อ การตีเกลียวแบบ Taper นั้นทำได้ยากกว่าแบบธรรมดาแต่ก็แน่นกว่า หากเกลียวบนท่อเป็นแบบใด เกลียวที่ Fitting และวาล์วก็ควรจะเป็นแบบเดียวกัน มิฉะนั้นความแข็งแรงและแน่นหนาจะลดลง
-
การตีเกลียวบนท่อต้องไม่มากหรือน้อยเกินไป โดยทั่วไปตีเกลียวยาวไม่เกิน 1 นิ้ว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดท่อเกลียวที่ยาวพอเหมาะต้องขันแน่นแล้วเหลือเกลียวไว้ 1-2 เกลียว การทำเกลียวยาวเกินไปอาจทำให้ช่างขันท่อเข้าไปลึกมากจนบางครั้งชนหน้าวาล์วจนปิด-เปิดวาล์วไม่ได้ ถ้าเกลียวสั้นไปก็ไม่แน่นเท่าที่ควร น้ำอาจรั่วซึมออกมาได้
-
เกลียวท่อมี 2 ระบบคือ เกลียวอังกฤษ และอเมริกา ซึ่งมีจำนวนเกลียวต่อควายาว 1 นิ้วไม่เท่ากัน ทั่วๆ ไปที่ใช้กันอยู่เป็นเกลียวอังกฤษ ซึ่งถี่กว่าของอเมริกา ข้อต่อที่เครื่องที่มาจากอเมริการเกลียวจะหยาบต้องทำ Adaptor คือ Fitting ข้างหนึ่งเป็นเกลียวอังกฤษ และอีกด้านหนึ่งเป็นเกลียวอเมริกา เกลียวมาตรฐานมีดังนี้
ขนาดท่อ
(นิ้ว) |
จำนวนเกลียวต่อความยาว 1 นิ้ว |
อังกฤษ |
อเมริกา |
1/2 |
14 |
14 |
3/4 |
14 |
14 |
1 |
11 |
11.5 |
1 - 1/4 |
11 |
11.5 |
1 - 1/2 |
11 |
11.5 |
2 |
11 |
11.5 |
2 - 1/2 |
11 |
8 |
3 |
11 |
8 |
4 |
11 |
8 |
5 |
11 |
8 |
6 |
11 |
8 |
8 |
10 |
8 |
10 |
10 |
8 |
12 |
8 |
8 |
-
ข้อลดของท่อแบบเกลียวห้ามใช้ Bushing เด็ดขาด ต้องใช้ Reducer มาตรฐานเท่านั้น
-
ในกรณีที่ใช้ข้อลดเบี้ยว (Eccentric Reducer) กับระบบปรับอากาศ ต้องให้ด้านหลังท่อเสมอกัน ด้านลดขนาดอยู่ด้านล่างทั้งท่อ Supply และ Return ทั้งนี้เพื่อไม่ให้อากาศยังขังอยู่ที่ Reducer
-
วาล์วและ Fitting แบบเกลียวเมื่อถอดออกต้องเปลี่ยน เทปพันท่อ, เชือก และ Sealant แล้วพันใหม่ มิฉะนั้นการขันเข้าที่เดิมจะไม่แน่นทำให้รั่วซึมได้
-
หน้าแปลนที่ใช้กันอยู่ทั่วไปมี 3 แบบ คือ
- Raised Face ใช้ท่อต่อชนหน้าแปลนแล้วเชื่อม แบบนี้จะต้องตัดท่อให้ได้ฉากพอดี มิฉะนั้นหน้าแปลนจะประกบกันไม่สนิท
- Slip-On ใช้ท่อสอดเข้าหน้าแปลนแล้วเชื่อมด้านนอก-ใน ทำให้แข็งแรงขึ้นและท่อไม่จำเป็นต้องตัดให้ได้ฉากพอดี
- Welding Neck หน้าแปลนแบบนี้มีความแข็งแรงมาก ใช้กับความดันสูงๆ ได้โดยที่หน้าแปลนจะมีคอหนาเรียวต่อออกมาบรรจบท่อแล้วเชื่อม
-
ข้อลดที่ Suction ของเครื่องสูบน้ำจะต้องเป็นแบบลดเบี้ยว (Eccentric Reducer) โดยติดตั้งด้านลดขนาดอยู่ด้านล่างสำหรับท่อแนวนอนเพื่อป้องกันอากาศขัง
-
หน้าแปลนที่ Gate Valve, Globe Valve, Check Valve และ Strainer บางทีมีขนาด, ความหนา และรูร้อย Bolt ไม่เหมือนกัน ต้องเช็คให้แน่ใจก่อนสั่งซื้อและติดตั้งซึ่งบางกรณีมีความยาวจำกัดจะมีปัญหามาก Rating ของหน้าแปลน Gate Valve มักจะต่ำกว่าวาล์วแบบอื่น ทำให้บางกว่า, ขนาดเล็กกว่า และรูร้อย Bolt น้อยกว่าด้วย หน้าแปลนที่วาล์วและท่อต้องมี Class เท่ากันด้วย
-
การต่อหน้าแปลนเข้าด้วยกันต้องมีปะเก็นคั่นกลางกันรั่ว ชนิดและความหนาของปะเก็นให้เช็คตาม Class ของหน้าแปลน และของเหลวในท่อ เมื่อติดตั้งปะเก็นใหม่ๆ อาจมีการรั่วซึมบ้างเล็กน้อยเนื่องจากหน้าแปลนประกบไม่แน่นพอ และปะเก็นยังไม่ดูดซึมน้ำทำให้พองตัวเล็กน้อยอุดรอยรั่ว ให้ทิ้งไว้สักพักแล้วขันน๊อตจนแน่น บางทีเอาปะเก็นชุบน้ำก่อนติดตั้งก็ได้เหมือนกัน หน้าแปลนที่ประกบกันต้องได้ระนาบเดียวกันไม่บิดเบี้ยวซึ่งอาจทำให้เกิดการรั่วซึม
-
ท่อที่เดินผ่านคาน, ผนัง และพื้นอาคารต้องมี Sleeve โดยวางตำแหน่งให้แน่นอน ท่อที่ร้อยผ่านอยู่กลาง Sleeve วัสดุทำ Sleeve อาจใช้ท่อเหล็กหรือเหล็กแผ่นนำมาม้วนแล้วเชื่อมรอยต่อก่อนทาสีกันสนิมทั้งภายนอกและภายในทั้งหมด ขนาดของ Sleeve ต้องใหญ่กว่าขนาดท่อรวมฉนวนหุ้มท่อ (ถ้ามี) ประมาณ 1 Size เช่นท่อขนาด 3 นิ้ว Sleeve ต้องไม่เล็กกว่า 4 นิ้ว หรือไม่ใหญ่กว่า 5 นิ้ว เป็นต้น Sleeve ที่พื้นอาคารต้องยกของสูงกว่าพื้นอาคารที่ตกแต่งเรียบร้อยแล้วประมาณ 5 ซม. เพื่อป้องกันน้ำรั่วจากพื้นชั้นบนลงสู่ชั้นล่าง หลังจากติดตั้งท่อเรียบร้อยแล้วต้องอุดช่องว่างระหว่างท่อ และ Sleeve ให้เต็มด้วยฉนวนหรือวัสดุทนไฟได้ไม่ต่ำกว่า 2 ชั่วโมง ท่อผ่าน Sleeve ในส่วนที่ไม่มีฝ้าควรมีเหล็กแผ่นกลมปิดโดยรอบ (Escutcheon plate) ให้ขอบนอกของเหล็กแผ่นใหญ่กว่าผิวท่อประมาณ 10 ซม. แล้วทาสีให้เข้ากับสีของอาคาร เหล็กปิดต้องทำหลังฉาบปูนทาสีอาคารเรียบร้อยแล้ว
-
Sleeve ที่ฝังกับผนังอาคารด้านนอก, ถังเก็บน้ำ หรือห้องที่มีความชื้นต่างกันมากๆ เช่นห้องเย็น, ห้องไอน้ำ ต้องมี Water Stop ที่กึ่งกลาง Sleeve โดยใช้เหล็กแผ่นความหนาไม่ต่ำกว่า 2.5 มม. และขอบนอกของเหล็กแผ่นใหญ่กว่า Sleeve ประมาณ 10 ซม. เชื่อมตลอดแนวกับ Sleeve
-
ท่อที่ติดตั้งเคียงกันต้องเผื่อช่องว่างระหว่างท่อไว้สำหรับทำงานเช่น ขันเกลียว, หุ้มฉนวน, ติดหน้าแปลน, ถอดเปลี่ยนวาล์ว และช่องระหว่างท่อกับอาคารภายหลังหุ้มฉนวนแล้วต้องไม่น้อยกว่า 10 ซม.
-
การต่อท่อที่เดินเคียงกันควรให้ข้อต่อเหลื่อมกันพอให้ทำงานได้สะดวก
-
เช็คชนิดของวาล์วว่าเป็นแบบ Rising หรือ Non-Rising Stem เพราะวาล์วขนาดใหญ่แบบ Rising Stem เวลาเปิดวาล์วเต็มที่จะมีก้านวาล์วยื่นออกมาก ที่ว่างด้านหัววาล์วอาจไม่พอ ตรวจสอบและวางแผนให้แน่ใจเสียก่อนจะได้ไม่ต้องแก้ไขในภายหลัง
-
ต้องติดตั้งวาล์วให้พวงมาลัยอยู่ในตำแหน่งที่หมุนได้สะดวก เช็คจากผู้ผลิตด้วยว่าวาล์วติดตั้งในตำแหน่งเอียงหรือหัวกลับได้หรือไม่ เพราะวาล์วบางชนิดกำหนดให้ติดในตำแหน่งตั้งขึ้นเท่านั้น
-
ตรวจสอบ Check วาล์วว่าเป็นแบบใด
-
วาล์วในห้องเครื่องที่อยู่สูงเกินกว่า 2.5 เมตร ถ้าเห็นว่าจำเป็นต้องปิด-เปิดบ่อยๆ อาจจะต้องติด Chain Wheel ให้ใช้ห้อยลงมาเหนือพื้นประมาณ 1 เมตร เพื่อให้หมุนพวงมาลัยวาล์วได้สะดวกโดยไม่ต้องใช้บันได โซ่ที่ห้อยลงมาอาจกีดขวางทางเดินต้องเตรียมที่ผูกโซ่หลบไปข้างๆ ด้วย
-
การทดสอบท่อให้ใช้น้ำอัดให้เต็มท่อโดยไล่อากาศออกจากระบบให้หมด ความดันในการทดสอบ ส่วนมากใช้ 1.5 เท่าของความดันขณะใช้งาน เมื่ออัดน้ำจนได้ตามความต้องการแล้วให้รักษาความดันนั้นไว้ 2 ชั่วโมง หากความดันไม่ลดก็ถือว่าใช้ได้
-
Strainer ต้องติดตั้งในลักษณะที่ถอดไส้กรองออกทำความสะอาดได้โดยเว้นที่ด้านดึงไส้กรองออกไว้ไม่น้อยกว่าความยาวไส้กรอง ส่วน Strainer ที่ติดตั้งในแนวนอนให้เช็คความสูงของท่อเพื่อให้ดึงไส้กรองออกได้โดยไม่ติดพื้น
-
เมื่อติดตั้งท่อเสร็จเรียบร้อยให้ทาสีกันสนิมที่ท่อเหล็กดำทั้งหมดก่อนหุ้มฉนวน
-
ก่อนการใช้งานจริงต้องเดินเครื่องสูบน้ำให้น้ำหมุนเวียนและถ่ายน้ำเพื่อให้สิ่งสกปรกออกไปจากระบบท่อให้หมด ต้องถอดไส้กรอง Strainer ออกล้างบ่อยๆ ก่อนการใช้งานจริง
-
การหุ้มฉนวนที่ท่อตรงให้ทำก่อนการทดสอบหารอยรั่วได้แต่เว้นไว้ที่ Fitting, วาล์วและหน้าแปลน ภายหลังการทดสอบเป็นที่ยอมรับแล้วจึงหุ้มฉนวนส่วนที่เว้นไว้ได้ โดยควรเว้นไว้เท่ากับหรือไม่มากกว่าความยาวฉนวน 1 ท่อน
|
ท่อที่หุ้มฉนวนแล้วควรหุ้มด้วยผ้าพลาสติก เพื่อป้องกันฝุ่นละออง |
-
ข้อต่อของฉนวนต้อง Seal ด้วยวัสดุกันน้ำอย่างดีเพื่อไม่ให้รอยรั่วซึ่งจะทำให้เกิดหยดน้ำรอบท่อได้ หากเกิดการ Condense ที่ท่อจะหาจุดที่ Condense ยากมาก เพราะน้ำจะหยดลงบนฉนวนและอาจไหลไปที่จุดอื่น บางทีต้องแกะฉนวนออกเป็นแนวยาวกว่าจะพบจุด Condense
-
ท่อที่มีฉนวนหุ้มต้องมีไม้หรือ Glass Foam ขนาดเท่ากับเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกของฉนวนรองรับท่อและมี Saddle รองไว้ด้านล่างอีกชั้นหนึ่ง
-
ท่อเหล็กดำที่ฝังดินต้องป้องกันการเกิดสนิมโดยทาด้วย Coal Tar และหุ้มด้วย Asbestos อีกขั้นหนึ่ง
-
การติดตั้ง Pressure Gauge ควรติดตั้งติดกับเครื่องจักรหลักที่ต้องการวัด Pressure Drop มากที่สุด หากติดตั้งโดยคร่อมอุปกรณ์อื่นๆ เช่น วาล์ว ฯลฯ เป็นต้นไปด้วยจะทำให้ค่า Pressure Drop ที่วัดได้มีค่าไม่ถูกต้อง และควรห่างจาก Fitting มากที่สุดด้วยในขณะเจาะท่อควรนำ Pressure Gauge ตัวอย่างไปลองทาบเข้ากับ Coupling ที่ติดอยู่กับท่อด้วย เพราะเนื่องจาก Pressure Gauge ที่ใช้อาจมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 4 1/2 นิ้ว หากเผื่อเนื้อที่ไม่พออาจทำให้ติดตั้ง Pressure Gauge ไม่ได้