การติดตั้งงานระบบที่ไม่ถูกต้อง และถูกต้อง (ระบบป้องกันเพลิงไหม้) โดย คุณเกรียงศักดิ์ เส็งวัฒน
Sheet No. : TR-FP-06 
   January 10
 

 

ก่อนแก้ไข
หลังแก้ไข

รูปที่ 1 มีการตัดเหล็กเสริมในบริเวณที่มีการฝัง Sleeve และไม่มีการเสริมเหล็กเพิ่มเติม

รูปที่ 1 หลีกเลี่ยงการตัดเหล็กเสริมโครงสร้าง โดยการดุ้งเหล็กบริเวณ Sleeve แทนการตัดเหล็ก และควรตรวจสอบระดับที่จะฝัง Sleeve ให้ถูกต้อง

รูปที่ 2 ก่อนเข้าอาคาร ควรติดตั้ง Flexible Connector เพื่อป้องกัน Differential Settlement

รูปที่ 2 ติดตั้ง Flexible Connector และท่อสั้น (Spool Piece) เพื่อป้องกันท่อเสียหายเมื่อเกิด Differential Settlement

รูปที่ 3 ก่อนเข้าอาคาร ควรติดตั้ง Flexible Connector เพื่อป้องกัน Differential Settlement

รูปที่ 3 ติดตั้ง Flexible Connector เพื่อป้องกันท่อเสียหายเมื่อเกิด Differential Settlement

รูปที่ 4 Flow meter ควรติดตั้งให้อ่านค่า หรือทดสอบได้สะดวก
(ภาพนี้ติดตั้งที่ระดับ 3.20 ม . จากพื้น สูงจนอ่านไม่ได้)

รูปที่ 4 ย้าย Flow meter ลงมาติดตั้งด้านล่าง โดยการติดตั้งท่อที่ต่อกับ Meter ให้ยาวขึ้นเพื่อให้อ่านค่าหรือทดสอบได้สะดวก


รูปที่ 5 ท่อที่ผ่านผนัง (ท่อโชว์) จะต้องใส่ Escutcheor
รูปที่ 5 ใส่ Escutcheor เสร็จแล้ว

รูปที่ 6 Sleeve ที่พื้น ควรทาสีกันสนิมพร้อมกับติดตั้งฝาครอบให้เรียบร้อย

รูปที่ 6 งานติดตั้งที่เรียบร้อย โดยใช้ฝาครอบประกบกัน 2 ชิ้น และยึดด้วย Screw

รูปที่ 7 ตำแหน่ง Butterfly Valve ชนกับ Relief Valve ทำให้เปิด / ปิดไม่สะดวก

รูปที่ 7 การติดตั้งที่ดี สามารถเปิด / ปิด ได้สะดวก


รูปที่ 8 ไม่ควรติดตั้ง Controller ของ Jockey Pump
ขวางบันได

รูปที่ 8 Controller ของ Jockey Pump ที่ย้ายเสร็จแล้ว โดยระดับที่ติดตั้งจะต้องเปิด - ปิด ได้สะดวก
(ด้านบนตู้สูงจากพื้นประมาณ 1,800 มม.)

รูปที่ 9 ต้องติดตั้ง Gate valve ก่อนเข้า Automatic Air vent และต่อท่อเพื่อระบายน้ำออกด้วย

รูปที่ 9 ลักษณะการติดตั้งที่ถูกต้อง และมีคุณภาพดี

รูปที่ 10 Fire Pump ทุกชนิด ไม่ควรติดตั้งบนฐานคสล.โดยตรง เพราะแรงสั่นสะเทือนอาจทำให้โครงสร้างเสียหาย หรือทำให้ Bolt & Nut ของเครื่องยนต์คลายตัวจนหลุด

รูปที่10 Fire Pump ทุกชนิด ควรรองรับด้วย Rubber Pad โดยปกติ SPEC. จะกำหนดไว้อยู่แล้ว

รูปที่ 11 ควรติดตั้ง Globe Valve หรือ Needle Valve พร้อม Pressure Snubber ก่อนเข้า Pressure Gauge และต่อท่อเพื่อระบายน้ำออกด้วย

รูปที่ 11 งานติดตั้งอุปกรณ์ครบถ้วน ถูกต้อง และมีคุณภาพดี ปลายท่อ Drain ควรใช้ตามรูปเล็ก ในรูปควรแก้ไขโดยให้เจาะท่อสำหรับ Pressure Gauge จากด้านข้างของท่อน้ำ

รูปที่ 12 ควรติดตั้ง Globe Valve Needle Valve พร้อม Pressure Snubber ก่อนเข้า Pressure Gauge และต่อท่อเพื่อระบายน้ำออกด้วย

รูปที่ 12 งานติดตั้งอุปกรณ์ครบถ้วน ถูกต้อง และมีคุณภาพดี
รูปที่ 13 Ball Valve ควรติดตั้งเป็น Globe Valve หรือ Needle Valve พร้อม Pressure Snubber ( Controller ของ Fire Pump)

รูปที่ 13 งานติดตั้งอุปกรณ์ครบถ้วน ถูกต้อง และมีคุณภาพดี
รูปที่ 14 เปลี่ยน Ball Valve เป็น Globe Valve หรือ Needle Valve พร้อม Pressure Snubber และต่อท่อระบายน้ำออกจาก Pressure Gauge ด้วยเข็มจะได้ไม่ค้างตลอดเวลา

รูปที่ 14 งานติดตั้งอุปกรณ์ครบถ้วน ถูกต้อง และมีคุณภาพดี

รูปที่ 15 ติดตั้ง Sight Glass บริเวณ Jockey Pump เพื่อตรวจสอบน้ำในท่อ


รูปที่ 15 ติดตั้ง Sight Glass เสร็จแล้ว

รูปที่ 16 ท่อไอเสียของ Diesel Engine Fire Pump ควรหุ้มฉนวนและ Stainless or Aluminum Jacket

รูปที่ 16 การติดตั้งที่ถูกต้องและมีคุณภาพดี แต่ไม่ควรหุ้มฉนวนและ Jacket บริเวณ Flexible Connector

รูปที่ 17 กลับหัว Bolts ให้อยู่ฝั่ง Flexible Connector และเปลี่ยน Bolts ตัวที่สั้น


รูปที่ 17 การติดตั้งที่ถูกต้องและมีคุณภาพดี

รูปที่ 18 ต่อท่อ Drain และใส่ Gate Valve พร้อมต่อท่อระบายน้ำออกจาก Strainer

รูปที่ 18 การติดตั้งที่มีคุณภาพดี และซ่อมบำรุงได้สะดวก แต่ควรใช้ปลายท่อสำเร็จรูป เพื่อให้ต่อสายยางได้สะดวก

รูปที่ 19 Pressure Gauge ด้าน Suction ของ Fire Pump ควรมีค่า Vacuum Pressure และทนแรงดันได้ตาม SPEC.

รูปที่ 19 Pressure Gauge ด้าน Discharge ของ Fire Pump ควรมีค่าเป็นบวก และทนแรงดันได้ตาม SPEC.

รูปที่ 20 ควรติดตั้ง Valve Tag ไว้ที่ Valve หรืออุปกรณ์ต่างๆ เพื่อสะดวกในการซ่อมบำรุง

รูปที่ 20 ติดตั้ง Valve Tag แล้ว โดยกำหนดดังนี้ ชื่ออาคาร -ชื่อย่ออุปกรณ์ - สถานะ N.O. (Normally Open) หรือ N.C. (Normally Closed)

รูปที่ 2 1 ไม่ควรติดตั้ง Battery ห่างจาก Fire Pump มากเกินไป เพราะจะทำให้สายไฟขวางทางเดิน

รูปที่ 2 1 ติดตั้ง Battery ให้ใกล้กับ Fire Pump
รูปที่ 2 2 ไม่มีการเจียร์รูเจาะด้านในท่อ Header Sprinker และทำให้เกิดโพรงอากาศในเส้นท่อ จนอุปกรณ์เสียหายได้

รูปที่ 2 2 Header Sprinker ที่ทำได้ถูกต้องและมีคุณภาพดี คือ เจียร์รูเจาะให้เรียบ พร้อมติดตั้ง Ring Plate

รูปที่ 23 Support รับท่อควรติดตั้งบนฐาน คสล. เพื่อป้องกันการผุกร่อนในอนาคต (ตีนเป็ดควรอยู่บนฐาน คสล. ด้วย)

รูปที่ 2 3 ติดตั้งท่อบน Support ที่ติดตั้งบนฐาน คลส. แล้ว
(ตีนเป็ดควรอยู่บนฐาน คสล. ด้วย)

รูปที่ 24 ควรติดตั้งสัญลักษณ์ท่อว่าจ่ายให้อาคารใดบ้าง เพื่อสะดวกในการซ่อมบำรุงหรือเปิด - ปิดใช้งาน

รูปที่ 24 ติดตั้งสัญลักษณ์ท่อเสร็จแล้ว โดยระบุอาคารปลายทางที่น้ำดับเพลิงเข้าไปจ่าย

รูปที่ 25 Pressure Relief Valve & Enclosed Waste Cone ติดตั้งไม่ถูกต้อง

รูปที่ 25 การติดตั้งที่ถูกต้อง

รูปที่ 26 จะต้องติดตั้ง Flexible Connector ในตำแหน่งท่อที่ติดตั้งผ่านรอยต่ออาคาร

รูปที่ 26 ติดตั้ง Flexible Connector ในท่องานระบบที่ติดตั้งผ่านรอยต่ออาคาร เพื่อป้องกัน Differential Settlement
(รวมท่อร้อยสายไฟฟ้าด้วย)

รูปที่ 27 ไม่ควรติดตั้งท่อดับเพลิง (แนวนอน) ใต้ฝ้าเพดาน ในรูปนี้ วาล์วจะชนโครงฝ้าเพดาน

รูปที่ 27 งานติดตั้งที่มีคุณภาพดี
รูปที่ 28 ติดตั้ง Fire Hydrant Pipe โดยไม่มี Combined Shop Drawing ทำให้โผล่ขวางทางเดิน

รูปที่ 28 ควรจัดทำ Combined Shop Drawing ก่อนติดตั้ง และจัดรูปแบบหรือจัดตำแหน่งให้สวยงาม เข้าถึงได้สะดวก

รูปที่ 29 ควรติดตั้งป้ายเตือนที่ Fire Department Connection (FDC) และควรติดตั้ง FDC ในจุดที่เข้าถึงสะดวก
(รูปนี้อยู่ห่างถนนมากถึง 30 ม .)

รูปที่ 29 Fire Department Connection ที่ติดตั้งป้ายเตือนแสดงไว้อย่างชัดเจน

รูปที่ 30 รูปแสดงการติดตั้ง Fire Department Connection ที่ไม่ถูกต้องทั้งนี้อาจเกิดเนื่องจากสั่งซื้อรุ่นที่ไม่เหมาะสมกับลักษณะท่อที่ติดตั้งหน้างาน ลักษณะหัวที่สวมต่อที่ถูกต้องต้องอยู่ในแนวนอน
(ดูรูปที่ 29 ขวามือด้านบน)

รูปที่ 30 การติดตั้ง Fire Hydrant ที่ถูกต้อง จะต้องหันจุดต่อออกมาด้านหน้า จะได้สวมข้อต่อได้สะดวก (Fire Hydrant ต้องมี Angle Valve ติดตั้งด้วย (ดูรูปข้างบน))
รูปที่ 31 ติดตั้ง Smoke Detector โดยไม่มี Combined Shop Dwg. กับระบบไฟฟ้าหรือระบบอื่นๆ

รูปที่ 31 งานติดตั้งที่เรียบร้อย สวยงาม และจะต้อง Combine กับงานทุกระบบ

รูปที่ 32 ติดตั้ง Sprinkler โดยไม่มี Combined Shop Dwg. กับระบบไฟฟ้าหรือระบบอื่นๆ

รูปที่ 32 งานติดตั้งที่เรียบร้อย สวยงาม และจะต้อง Combine กับงานทุกระบบ

รูปที่ 33 การติดตั้ง Sprinkler กับฝ้าตะแกรง ที่ไม่เรียบร้อย

รูปที่ 33 การติดตั้ง Sprinkler กับฝ้าตะแกรงที่ถูกต้อง และควรตรวจสอบให้ถูกต้องตามมาตรฐาน NFPA.

 

Top  | มีข้อสงสัยหรือข้อคิดเห็นสามารถเข้าไป post ที่ web board

                  ข้อควรรู้เกี่ยวกับเครื่องสูบน้ำดับเพลิง (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1)
               
โดย คุณเกรียงศักดิ์ เส็งวัฒน์ และ คุณภากร รัชฏสุวรรณ
Sheet No. : TR-FP-05 
   February 10
 
 


ในเอกสารมาตรฐานของ ว.ส.ท. จะระบุไว้ว่า “ ห้ามติดตั้งเครื่องสูบน้ำดับเพลิงชนิดแรงเหวี่ยงหนีศูนย์ ( Centrifugal) แบบ Split Case หรือแบบ End Suction ที่สูบน้ำจากแหล่งน้ำหรือถังเก็บน้ำที่มีระดับน้ำใช้งาน (ต่ำสุดในถังเก็บน้ำ) ต่ำกว่าระดับตัวเครื่องสูบน้ำ ” ต้นกำลังโดยทั่วไปนิยมใช้มอเตอร์ไฟฟ้าหรือเครื่องยนต์ดีเซล ซึ่งจะมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป และการติดตั้งเครื่องสูบน้ำดับเพลิงจะต้องติดตั้งให้อยู่ใกล้แหล่งน้ำมากที่สุด

  1. Centrifugal Pumps

    ในที่นี้ขอกล่าวถึง Horizontal Split Case Centrifugal Pump ที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า โดยมีด้านดูด ( Suction) อยู่ด้านข้าง และด้านส่งออก (Discharge) ก็อยู่ด้านข้างเช่นกัน หรือเข้าข้าง - ออกข้าง


     
    Pressure gauge 2 ชุดนี้ควรติดตั้งที่หน้าแปลน หรือที่เรือนเครื่องสูบน้ำ (มีรูพร้อมปลั๊กอุดเตรียมไว้แล้ว) แต่ตำแหน่งรู
    จะต้องอยู่ด้านข้างเท่านั้น
    ไม่ใช่ด้านบน
    (ด้านบนอาจมีโพรงอากาศ อาจทำให้ค่าที่วัดได้ไม่แม่นยำ)
     
    ท่อระบายน้ำบริเวณเพลา และสามารถระบายความร้อนของเพลาได้ด้วย

    ข้อควรระวัง

    1. การติดตั้ง Pressure Gauge ในเส้นท่อที่ติดตั้งในแนว Horizontal ก็ต้องติดตั้งอยู่ด้านข้างของท่อเช่นเดียวกัน
    2. รูที่อยู่ด้านบนของเครื่องสูบน้ำ (บริเวณหน้าแปลน) จะใช้สำหรับการติดตั้งอุปกรณ์อื่นๆ เช่น Pressure Differential Switch ฯลฯ เป็นต้น

    อุปกรณ์ต่างๆ ของ Fire Pump ที่เราควรทราบ

     
    ตำแหน่งที่ดีที่สุดในการติดตั้ง Pressure Gauge จะต้องติดตั้งให้อยู่ใกล้ตัวเครื่องมากที่สุด
    (ท่อที่ติดตั้งในแนวนอน ตำแหน่งรูที่เจาะจะต้องอยู่ด้านข้าง ไม่ใช่ด้านบน) เพื่อจะได้ค่าความดันที่ถูกต้องแม่นยำ
    (โดยไม่รวมค่า Pressure Drop ของอุปกรณ์อื่นๆ เช่น Flexible Connector, Valve ต่างๆ ฯลฯ เป็นต้น)

    ด้าน Suction
    ต้องติดตั้ง Eccentric Reducer เพื่อป้องกันการเกิดโพรงอากาศ โดยให้ต่อกับท่อสั้น (Spool piece) ยาวประมาณ 100 มม. ก่อนต่อเข้ากับหน้าแปลน (Flange) แบบ Slip-On หรือ Plate Flange กรณีใช้หน้าแปลนชนิด Welding Neck Flange ไม่จำเป็นต้องต่อด้วยท่อสั้นก็ได้

    ด้าน Discharge
    ต้องติดตั้งด้วย Concentric Reducer โดยให้ต่อกับท่อสั้น (Spool piece) ยาวประมาณ 100 มม. ก่อนต่อเข้ากับหน้าแปลน (Flange) แบบ Slip-On หรือ Plate Flange กรณีใช้หน้าแปลนชนิด Welding Neck Flange ไม่จำเป็นต้องต่อด้วยท่อสั้นก็ได้

  2. Vertical Turbine Fire Pump

    ในที่นี้ขอกล่าวถึง Vertical Turbine Fire Pump ที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ดีเซล โดยมีรายละเอียดการติดตั้งตามรูป ดังนี้ :-


    NFPA 20 กำหนดว่าจะต้องติดตั้ง Cover Guard บริเวณท่อส่งน้ำมัน

    ท่อระบายความร้อนเครื่องยนต์ โดยต่อออกจากท่อด้านส่ง (Discharge Pipe) และต่อไปยังเครื่องยนต์
    ท่อน้ำระบายความร้อนบริเวณเพลา ที่ถูกต้องนั้น ปลายท่อนี้จะต้องต่อเข้าไประบายความร้อนให้เครื่องยนต์ด้วย
    (ท่อด้านบนไม่ต้องต่อก็ได้)

    รายละเอียดการติดตั้งอุปกรณ์ที่ควรทราบ

    1. เครื่องยนต์ชนิดดีเซลต้องติดตั้งให้ตรงตามข้อแนะนำของ Supplier โดยศึกษาจาก Installation Manual และต้องรองรับด้วย Rubber Pad
    2. แท่นเครื่องควรมี Gutter ขนาด 5 x 5 ซม. เพื่อระบายน้ำ/น้ำมันรั่วที่แท่นเครื่องด้วย เช็คระดับให้ดี (ผิดกันบ่อย)
    3. ท่อไอเสียควรหุ้มฉนวนพร้อม Aluminum Jacket or Stainless Jacket และไม่ควรยาวเกิน 4.5 ม. หากยาวกว่านี้ต้องคำนวณขนาดท่อไอเสียใหม่โดยผู้แทนจำหน่าย (บริเวณ Flexible Connector ไม่ต้องหุ้ม Jacket)
    4. Vertical Turbine จะต้องติดตั้งให้ตรงตามข้อแนะนำของ Supplier โดยศึกษาจาก Installation Manual
    5. Pressure Relief Valve & Enclosed Waste Cone
    6. Pressure Gauge รายละเอียดตามรูป


    7. ท่อระบายน้ำกลับสู่ถังเก็บน้ำกรณีทำการทดสอบเครื่องสูบน้ำ (Weekly Exercise)
    8. ฐานรับท่อ Steel Plate (ตีนเป็ด) จะต้องตั้งอยู่บนฐานคสล.เท่านั้น เพราะตั้งบนพื้นแบบนี้จะผุกร่อนง่าย อายุการใช้งานสั้น
    9. Discharge to FP. Pipe Line
    10. Check Valve
    11. OS & Y Gate Valve หากประตูน้ำถูกเปิดออกจะมีก้านยื่นออกมา เพื่อให้เป็นที่สังเกตว่าวาล์วเปิดอยู่
    12. การติดตั้ง Bolt, Nut และ Washer ให้ดูเอกสาร Sheet No. TR-GE-03 : ข้อควรรู้เรื่อง Bolt, Nut, Washer ประกอบ

    รายละเอียดการติดตั้งอุปกรณ์ที่ควรทราบ


 
  1. OS & Y Gate Valve หากประตูน้ำถูกเปิดออกจะมีก้านยื่นออกมา เพื่อให้เป็นที่สังเกตว่าวาล์วเปิดอยู่

  2. Butterfly Valve หรือ วาล์วปีกผีเสื้อ ชนิด Hand Wheel Gear Operator ใช้กับท่อที่มีขนาดตั้งแต่ 6 นิ้วขึ้นไป และทิศทางของลูกศรจะต้องหันไปทางเดียวกับทิศทางการไหลของน้ำ หรือตาม SPEC. ในกรณีติดตั้งในเส้นท่อแนว Horizontal ต้องให้แกนวาล์วอยู่ในแนวนอน และลิ้นวาล์วส่วนล่างต้องเปิดในทิศทางเดียวกับทิศทางการไหลของน้ำ เพื่อพัดพาตะกอนได้สะดวก

  3. Check Valve หรือ วาล์วกันน้ำย้อน

  4. Enclosed Waste Cone and Sight Glass

  5. Pressure Relief Valve (PRV.)

  6. Concentric Reducer จะใช้ต่อท่อในแนวดิ่ง

  7. Suction and Discharge Pressure Gauge ติดตั้งเพื่อทำหน้าที่วัดความดันตกคร่อม (Pressure Drop)

  8. Suction and Discharge Pressure Gauge ติดตั้งเพื่อทำหน้าที่วัดความดันตกคร่อม (Pressure Drop)

    ข้อควรรู้ในการติดตั้ง ดังนี้ :-

    • ติดตั้งในตำแหน่งใกล้เครื่องสูบน้ำมากที่สุด (ในภาพจะมีรูตรงหน้าแปลนก่อนเข้าเครื่องสูบน้ำไว้ให้แล้ว แต่รูจะต้องอยู่ด้านข้าง ไม่ใช่ด้านบน)
    • ห้ามติดตั้งด้านหลัง Flexible Connector หรือ วาล์ว
    • ควรใช้หน้าปัทม์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4 นิ้ว ขึ้นไป และหันหน้าไปในทิศทางเดียวกัน จะได้อ่านค่าได้สะดวก
    • ด้าน Suction ควรเป็น Scale Vacuum Pressure (Scale มีค่าติดลบ)
    • หากมีแรงดันมากๆ ควรใช้ชนิด Liquid Filled

  9. Automatic Air Vent หรือ Air Release Valve จะต้องติดตั้งที่จุดสูงสุดของท่อน้ำ เพราะอากาศจะอยู่ด้านบน

  10. OS & Y Gate Valve

  11. Y-Strainner หรืออุปกรณ์ดักเศษผงหรือกรวด ปกติจะติดตั้งด้าน Suction เพื่อดักเศษผงหรือกรวด ที่อาจพัดพาเข้าไปใน Fire Pump ทำให้ใบพัดเสียหาย โดยตะแกรงจะต้องมีขนาดรูตาม SPEC.

  12. Flow Meter ควรติดตั้งในตำแหน่งที่สามารถอ่านค่าได้สะดวก

  13. Butterfly Valve ชนิด Hand Wheel Gear Operator ต่อเข้ากับ Supervisory Switch ทิศทางของลูกศรจะต้องหันไปในทิศทางเดียวกับการไหลของน้ำ ในกรณีติดตั้งในเส้นท่อแนว Horizontal ต้องให้แกนวาล์วอยู่ในแนวนอน และลิ้นวาล์วส่วนล่างต้องเปิดในทิศทางการไหลของน้ำเพื่อพัดพาตะกอนได้สะดวก

  14. การติดตั้ง Bolt, Nut และ Washer ให้ดูเอกสาร Sheet No. TR-GE-03 : ข้อควรรู้เรื่อง Bolt, Nut, Washer ประกอบด้วย
 
 

 

   
 
   
 
   
 
   
 

3. Jockey Fire Pump

รายละเอียดการติดตั้งอุปกรณ์ที่ควรทราบ

  1. OS & Y Gate Valve หากประตูน้ำถูกเปิดออกจะมีก้านยื่นออกมาเพื่อให้เป็นที่สังเกตว่าวาล์วเปิดอยู่
  2. Y-Strainer คืออุปกรณ์ดักเศษผงหรือกรวด จะติดตั้งที่ด้าน Suction เพื่อดักเศษผงหรือกรวด ที่อาจพัดพาเข้าไปใน Fire Pump ทำให้ใบพัดเสียหาย โดยตะแกรงจะต้องมีขนาดรูตาม SPEC. และจะต้องติดตั้ง Y-Strainer ใต้ท่อเท่านั้นขนาดท่อ Drain ควรใช้ขนาดเท่ากับสายยางในท้องตลาด โดยทั่วไปคือ ½ - 1 นิ้ว เพื่อสะดวกในการซ่อมบำรุง
  3. Suction Pressure Gauge มีรายละเอียดตามรูป แต่จะต้องเจาะด้านข้างท่อเท่านั้น (ไม่ใช่ด้านบน) และจะต้องเป็นขนิด Scale Vacuum Pressure (Scale มีค่าติดลบ) รวมทั้งจะต้องติดตั้งใกล้เครื่องสูบน้ำมากที่สุด และห้ามติดตั้งด้านหลัง Flex หรือวาล์ว (ในรูปเป็นการติดตั้งที่ผิดตำแหน่ง)

     

    ด้านออกควรใช้ Gate Valve
    (ลักษณะจะตัวผอมๆ ไม่มีลูกศร)

    ด้านเข้าควรใช้ Globe Valve เพราะสามารถปรับได้ละเอียดกว่าหรือปิดน้ำได้สนิทกว่า ( ลักษณะจะตัวอ้วนๆ มีลูกศร)


  4. Flexible Connector จะต้องติดตั้งให้ Bolts อยู่ด้านอุปกรณ์ และไม่ต้องมี Washer (Nut และ Washer อยู่ด้านนอก) เหมือนอุปกรณ์และวาล์วอื่นๆ ที่ต่อด้วยหน้าแปลน
  5. Jockey Fire Pump จะต้องติดตั้งบน Rubber Pad
  6. ฐานคสล. ควรสูงจากพื้นอย่างน้อย 10 -15 ซม. และจะต้องมีราง Gutter ขนาด 5 x 5 ซม. อยู่โดยรอบฐานด้วย
  7. Discharge Pressure Gauge การติดตั้งเหมือนข้อ 3 ข้างต้น ยกเว้น Scale Range
  8. Check Valve
  9. Flow Meter ควรติดตั้งในตำแหน่งที่สามารถอ่านค่าได้สะดวก
 
 
                       การติดตั้ง Fire Hose Cabinet ที่ถูกต้อง
Sheet No. : TR-FP-04 
   September 09
 
 



Typical Detail ทั่วไปของ Fire Hose Cabinet

แต่ในการใช้งานจริง รูปแบบของ Fire Hose Cabinet อาจต้องแบ่งเป็นหลายรูปแบบตามจุดประสงค์การใช้งานจริงในแต่ละพื้นที่ มิฉะนั้นแล้วหากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินที่จำเป็นต้องใช้สายส่งน้ำดับเพลิง หรือ Fire Extinguisher อาจเกิดปัญหาที่ทำให้ไม่สามารถใช้งานได้ ซึ่งจะทำให้เกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวงขึ้นได้

 

 

1 =
ช่องกระจกต้องมีขนาดกว้างกว่า Fire Hose Reel และ Fire Extinguisher เพื่อสามารถใช้งานได้โดยเพียงการทุบกระจกเท่านั้น
   
2 =
ต้องมีป้ายบอกวิธีการใช้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
   
3 =
บานพับต้องอยู่ตรงข้ามกับ Side Plate ของชุดสายส่งน้ำดับเพลิงเสมอ
   
4 =
หัวต่อ Quick Coupling ต้องอยู่สูงกว่าขอบตู้

การติดตั้ง Fire Hose Cabinet
   

ดังนั้น ก่อนที่ผู้รับเหมาก่อสร้างจะสั่งประกอบตู้ ผู้ควบคุมงานต้องสั่งการให้ผู้รับเหมาก่อสร้างพิจารณารูปแบบของ Fire Hose Cabinet ตามฟังก์ชั่นการใช้งานดังนี้ :-

  1. Plan Layout ของตำแหน่ง Fire Hose Cabinet ในแต่ละชั้นต้องแสดงทิศทางของสายส่งน้ำดับเพลิงในขณะที่ต้องการใช้งานเสมอ
  2. บานพับฝาตู้ด้านสายส่งน้ำดับเพลิง ต้องอยู่ตรงข้ามกับ Side Plate ของชุดสายส่งน้ำดับเพลิง (Automatic Fire Hose Reel) (ดูรูป) มิฉะนั้นเวลาใช้งานจะไม่สามารถลากสายส่งน้ำดับเพลิงไปในทิศทางที่ต้องการใช้งานได้
  3. บานพับฝาตู้ทั้งด้านสายส่งน้ำดับเพลิง และด้านเก็บ Fire Extinguisher ต้องมีลักษณะเป็น Piano Type และต้องเปิดสุดจนทำมุม 180 องศา ได้
  4. หัวต่อ Quick Coupling ต้องอยู่ในระดับที่สูงกว่าขอบตู้เสมอ มิฉะนั้นอาจเกิดปัญหาทำให้ต่อสายส่งน้ำดับเพลิงไม่ได้
  5. ขนาดกระจกต้องใหญ่กว่าชุดสายส่งน้ำดับเพลิง (Automatic Hose Reel) เพื่อที่จะสามารถใช้สายส่งน้ำดับเพลิงได้ โดยการทุบกระจกในกรณีที่หากุญแจไขอุปกรณ์เปิด-ปิดฝาตู้ไม่พบในเวลาต้องการใช้งานฉุกเฉิน
  6. Fire Extinguisher ต้องเอาออกมาใช้งานได้สะดวก โดยไม่ต้องเปิดฝาตู้ (เพียงแต่ทุบกระจกเท่านั้น) ดังนั้น ขนาดของกระจกต้องใหญ่กว่าเส้นผ่านศูนย์กลางและความสูงของ Fire Extinguisher
  7. หากไม่จำเป็น อุปกรณ์เปิด-ปิดฝาตู้ควรเป็นแบบที่ล็อคไม่ได้ มิฉะนั้นหากถึงเวลาใช้งานอาจหากุญแจไม่พบ (รายการนี้ควรปรึกษาผู้ใช้อาคารเพื่อหาข้อสรุป)
  8. กระจกที่ใช้ต้องเป็นกระจกนิรภัยเท่านั้น


    การติดตั้งป้ายแสดงตำแหน่ง Fire Extinguisher

  9. หาก Fire Hose Cabinet ตั้งอยู่กับพื้นมิใช่แบบยึดกับฝาผนัง จะต้องออกแบบขาตั้งให้มีความแข็งแรง มิฉะนั้นในขณะลากสายส่งน้ำดับเพลิงออกมาใช้อาจเกิดความเสียหายจนใช้การไม่ได้
  10. ควรปรึกษากับผู้ควบคุมสถาปัตยกรรมให้ติดตั้งป้ายแสดงตำแหน่ง Fire Hose Cabinet หรือ Fire Extinguisher ไว้เหนืออุปกรณ์ดังกล่าว เพื่อจะใช้หาได้ง่ายเมื่อถึงเวลาต้องการใช้งาน (ดูรูป)
  11. ก่อนส่งมอบงานต้องทำการทดสอบการใช้งานของสายส่งน้ำดับเพลิงทุกชุด เพื่อความมั่นใจในการใช้งาน แต่ต้องระวังเรื่องน้ำดับเพลิงที่ฉีดออกด้วยว่าจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินต่างๆ หรือไม่ ?


    การดึงสายส่งน้ำดับเพลิง ต้องดึงจากด้านบนของ Hose Reel

  12. ต้องติดตั้ง Hose Reel ให้อยู่ในลักษณะดังนี้ :-
    • การดึงสายส่งน้ำดับเพลิงไปใช้งาน ต้องดึงออกจากด้านบนของ Hose Rell ไปในทิศทางที่ต้องการได้โดยไม่ต้องพับหรืองอสาย ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในขณะใช้งานและขณะม้วนสายส่งน้ำดับเพลิงกลับเข้าไปใน Hose Reel
    • โดยทั่วไป Hose Reel ทุกยี่ห้อสามารถปรับลักษณะการดึงสายส่งน้ำดับเพลิงให้เป็นไปตามที่ระบุข้างต้นได้ ซึ่งสามารถดำเนินการที่หน้างานได้

 
                       การติดตั้งข้อลดเยื้องศูนย์ที่ถูกต้อง
Sheet No. : TR-FP-03 
   March 09
 
 


การติดตั้งข้อลดเยื้องศูนย์บริเวณเครื่องสูบน้ำดับเพลิงที่ถูกต้อง

โดยทั่วไปเครื่องสูบน้ำดับเพลิงที่ใช้ในโครงการจะเป็นชนิด Horizontal Split Case Centrifugal Pump โดยจะทำหน้าที่สูบน้ำ จากบ่อกักน้ำที่มีระดับต่ำกว่า / เท่ากัน / สูงกว่าเครื่องสูบน้ำดับเพลิง การต่อท่อทางด้านดูดอาจจำเป็นต้องใช้ข้อลดในกรณีที่ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของท่อน้ำดับเพลิงมีขนาดไม่เท่ากันกับขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางทางด้านดูดของเครื่องสูบน้ำ ข้อลดที่ติดตั้งในแนวนอนต้องเป็น ข้อลดเยื้องศูนย์ (Eccentric Reducer) เสมอ ทั้งนี้หากบ่อกักน้ำมีระดับต่ำกว่าหรือเท่ากับเครื่องสูบน้ำดับเพลิง การติดตั้งข้อลดเยื้องศูนย์จะต้องให้ ด้านบนเรียบ แต่ถ้าบ่อกักน้ำมีระดับสูงกว่า การติดตั้งข้อลดเยื้องศูนย์จะต้องให้ ด้านล่างเรียบ ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้เกิด Air Pocket และสามารถไล่อากาศออกจากท่อง่ายที่สุด อีกประการหนึ่ง ข้องอที่ใช้ต่อ (ดังรูป) ต้องมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากับท่อน้ำดับเพลิง ห้ามมิให้ใช้ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากับขนาดของด้านดูดของเครื่องสูบน้ำโดยเด็ดขาด

 
                       ข้อควรระวังในการติดตั้งท่อดับเพลิงเข้าไปในอาคาร
Sheet No. : TR-FP-02 
   August 08
 
 


การติดตั้ง Teloscopic Expansion Joint

จากรูปดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงการติดตั้ง Expansion Joint ชนิด Telescopic สำหรับท่อน้ำระบบป้องกันเพลิงไหม้ ซึ่งเดินท่อประธานเป็น Loop รอบๆ ทุกอาคาร และต่อท่อสาขาจาก Loop เข้าไปใต้พื้นของอาคาร พร้อมใส่ Expansion Joint ก่อนขึ้นไปตาม Shaft ต่างๆ เพื่อจ่ายให้ตู้ดับเพลิง (Fire Hose Cabinet) หรือหัว Sprinkler

การติดตั้งในรูปแบบดังกล่าวข้างต้นเป็นเรื่องปกติที่ปฏิบัติกันในโครงการต่างๆ แต่ขอให้ข้อสังเกตหรือข้อควรระวังดังนี้

  1. ต้องแจ้งให้ผู้ที่มีหน้าที่ทำการบำรุงรักษาของอาคารคอยหมั่นสังเกตการทรุดตัวของท่อใต้ดิน โดยดูที่ตัว Expansion Joint เป็นหลัก หากระยะยืดตัวของ Expansion Joint อยู่ในระดับยาวที่สุดตาม Catalog แล้วก็แสดงว่าตัว Expansion Joint ไม่สามารถจะรองรับการทรุดตัวได้อีกต่อไป ดังนั้น ฝ่ายซ่อมบำรุงต้องทำการเปลี่ยนท่อบ้องสั้น (Spool Piece) ที่อยู่ด้านล่าง (ตามที่วงไว้) ให้ยาวขึ้นเพื่อดึงให้ Expansion Joint กลับไปอยู่ที่จุดเดิม การทรุดตัวดังกล่าวอาจเกิดได้ง่ายและเร็วในระยะแรกของการใช้อาคาร
  2. ควรหลีกเลี่ยงไม่ให้ติดตั้งท่อใต้ดินผ่านพื้น Concrete Slab ของอาคารเข้ามาในกลางอาคาร เพราะหากท่อเกิดแตกและ/หรือต้องเปลี่ยน สิ่งที่ยุ่งยากที่สุดคือต้องทุบพื้นเพื่อทำการซ่อมแซม ซึ่งจะต้องใช้เวลาและเสียค่าใช้จ่ายค่อนข้างมาก แต่ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ต้องให้ที่รองรับท่อน้ำดังกล่าวฝากไว้กับโครงสร้างพื้นของอาคาร จะได้ลดปัญหาดังกล่าวลงได้ระดับหนึ่ง ที่รองรับท่อต้องทำจากวัสดุที่ป้องกันการผุกร่อนได้ เช่น Stainless Steel เป็นต้น สำหรับวัสดุท่ออาจเป็นท่อ PE แต่ถ้าเป็นท่อเหล็กดำควรจะต้องทำการหุ้มท่อด้วยวัสดุที่ป้องกันการผุกร่อนตามมาตรฐานของการประปานครหลวง ผู้ควบคุมงานต้องให้ความเอาใจใส่กับงานที่ติดตั้งใต้ดินให้มากกว่าปกติ โดยเฉพาะเรื่องการป้องกันการผุกร่อน และการทรุดตัว

 
                       การตั้งค่า Pressure Switch ของ Fire Pump และ Jocky Pump
Sheet No. : TR-FP-01 
   April 07 

 

   
 
Electric Motor Driven Fire Pump
 
Fire Pump Controller
     
Diesel Engine Fire Pump
     
 


Pressure Switch คืออุปกรณ์ควบคุมที่ติดตั้งอยู่ในตู้ Controller ของ Fire Pump และ Jocky Pump มีหน้าที่ในการควบคุมการทำงานของ Pump ดังกล่าว เมื่อความดันของน้ำในท่อน้ำดับเพลิงลดลงผิดปกติจาก Set point ที่ตั้งไว้ ดังนั้น การตั้งค่า Pressure Switch จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ควรจะต้องเรียนรู้เพื่อให้ระบบป้องกันอัคคีภัยทำงานได้ตามวัตถุประสงค์ สิ่งที่ควรเรียนรู้มีดังนี้

1.  ลำดับการทำงานของ Fire Pump และ Jocky Pump เป็นดังนี้

1.1 Jocky Pump
1.2 Electric Motor Driven Fire Pump
1.3 Diesel Engine Driven Fire Pump

2. ให้ใส่ Orifice Check Valve ที่ท่อน้ำดับเพลิงก่อนต่อเข้า Pressure Switch จำนวน 2 ตัว และมีระยะห่างกันอย่างน้อย 1.5      เมตร (Orifice Check Valve คือ Check Valve แบบ Swing Check Valve ที่ติดกลับข้าง (ให้ Flow Direction หันทิศจาก Flow      Switch ไปทาง Header ของท่อประธาน) และให้เจาะรูที่ Valve Disc ขนาดเท่ากับเส้นผ่านศูนย์กลาง 3/32 นิ้ว

3.  หลักการตั้ง Pressure Switch ของ Fire Pump และ Jockey Pump มีดังนี้

3.1 Jockey Pump

3.1.1 จุด Stop เท่ากับ Churn Pressure ของ Fire Pump บวก Minimum Static Pressure ของ
         Water Supply ที่จ่ายให้ Pump
3.1.2 จุด Start เท่ากับ จุด Stop ลบ 10 PSI
3.1.3 การตั้งจุด Stop และจุด Start สำหรับ Jockey Pump ให้ตั้งตามข้อ 3.1.1 และ 3.1.2 ทุกชุด         ไม่ว่าจะมี Jockey Pump มากกว่า 1 ตัวก็ตาม

3.2 Fire Pump

3.2.1 จุด Start ของ Fire Pump ชุดแรก เท่ากับจุด Start ของ Jockey Pump ลบ 5 PSI จุด          Start  ชุดต่อไปให้ตั้งลดลง 10 PSI ตลอด
3.2.2 การ Stop ของ Fire Pump ให้ใช้วิธี Manual Stop ทุกตัว แต่ควรตั้งจุด Stop เท่ากับ          Churn Pressure บวก Maximum Static Pressure ของ Water Supply
3.2.3 การนับจำนวน Fire Pump ให้นับจาก Electric Fire Pump ก่อนเสมอ

หมายเหตุ

  • ค่า Churn Pressure คือค่า Pressure สูงสุดของ Fire Pump ที่ Flow เท่ากับ 0 GPM (No Flow) (ให้ดูจาก Performance Curve ของ Fire Pump)
  • ค่า Minimum Static Pressure และ Maximum Static Pressure ของ Water Supply ให้กำหนดเท่ากับ 0 SPI ในกรณีที่ Water Storage Tank อยู่ต่ำกว่าหรือระดับเดียวกันกับระดับ Fire Pump แต่หาก Water Storage Tank อยู่สูงกว่ามาก ต้องคิดค่า Static Pressure ในการตั้ง Pressure Setting ด้วย
  • การ Test การทำงานของ Fire Pump ทั้งแบบขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า และเครื่องยนต์ดีเซลต้องทดสอบความดันอย่างน้อยที่ Flow 3 จุด คือ

    1. Churn Pressure ที่ 0% Rated Flow
    2. Pressure ที่ 100% Rated Flow
    3. Pressure ที่ 150% Rated Flow

    เสร็จแล้วนำค่า Pressure - Flowrate ไป Plot Curve และเปรียบเทียบกับ Curve ที่โรงงานผู้ผลิต Fire Pump ส่งให้ตอนขออนุมัติวัสดุ โดยค่า Pressure ที่วัดได้จริงต้องมีค่าไม่น้อยกว่า 95% ของค่า Pressure ที่ได้จาก Curve ของโรงงานผู้ผลิต หากต่ำกว่านี้ต้องให้ผู้แทนจำหน่าย / ผู้รับเหมา ทำหนังสือชี้แจงเหตุผล

  • หาก Churn Pressure ที่วัดได้มีค่าเกิน 175 PSI ต้องติดตั้ง Pressure Relief Valve ที่ Fire Pump แต่ละตัวด้วย

ตัวอย่าง

  1. Diesel Fire Pump (FP- 01, FP- 02) 1,000 GPM, 125 PSI
  2. Electric Fire Pump (FP- 03, FP- 04) 1,000 GPM, 125 PSI
  3. Jockey Pump (JP- 01, JP- 02)

จาก Performance Curve ของ Fire Pump

    • ค่า Churn Pressure ที่อ่านได้
    • กำหนดค่า Static Pressure ของ Water Supply ทั้ง Max และ Min
=
=
147
0
PSI
PSI

  จุด Stop ของ JP-01, JP-02
จุด Start ของ JP-01, JP-02
จุด Start ของ FP-03
จุด Start ของ FP-04
จุด Start ของ FP-01
จุด Start ของ FP-02
=
=
=
=
=
=
147 + 0
147 - 10
137 - 5
132 - 10
122 - 10
112 - 10
=
=
=
=
=
=
147
137
132
122
112
102
PSI
PSI
PSI
PSI
PSI
PSI
จุด Stop ของ FP-01 to FP-04
=

Manual Stop แต่ตั้ง Pressure Switch ให้ Stop ที่

   
147 + 0
=
147
PSI