การติดตั้งงานระบบที่ไม่ถูกต้อง และถูกต้อง (ระบบสุขาภิบาล) โดย คุณเกรียงศักดิ์ เส็งวัฒน์
Sheet No. : TR-SN-07
   January 10
 


ก่อนแก้ไข
หลังแก้ไข

รูปที่ 1 ท่อร้อยสายไฟฟ้าไม่ควรติดตั้งบนพื้น เพราะเวลา Service จะเข็นของไม่ได้ และดูไม่เรียบร้อย

รูปที่ 1 CWP. 2 ชุดนี้จะเดินสายไฟลงมาจากเพดานดีที่สุด ควรฝังท่อร้อยสายไฟในพื้นคสล . มาโผล่ที่ใต้แท่นเครื่อง


รูปที่ 2 ต้องติดตั้ง Pressure Gauge, Globe Valve หรือ Needle Valve พร้อม Pressure Snubber จากด้านข้างของท่อน้ำที่ติดตั้งในแนว Horizontal

รูปที่ 2 การติดตั้งที่มีคุณภาพดี และซ่อมบำรุงได้สะดวก

รูปที่ 3 ปลายท่อระบายน้ำควรใช้ปลายท่อสำเร็จรูปที่สามารถใช้สายยางต่อได้สะดวก

รูปที่ 3 ติดตั้งท่อสำเร็จรูป สามารถสวมสายยางได้ง่าย และสะดวกกับการทำงาน

รูปที่ 4 ควรติดตั้งให้หัว Bolt อยู่ฝั่ง Flexible Connector

รูปที่ 4 งานติดตั้งที่ถูกต้องคือ หัว Bolt อยู่ฝั่ง Flexible Connector
รูปที่ 5 ควรติดตั้งให้หัว Bolt อยู่ฝั่ง Flexible Connector

รูปที่ 5 งานติดตั้งที่ถูกต้องคือ หัว Bolt อยู่ฝั่ง Flexible Connector

รูปที่ 6 ต่อท่อ Drain และใส่ Gate Valve พร้อมต่อท่อระบายน้ำออกจาก Strainer

รูปที่ 6 การติดตั้ง Strainer ที่มีคุณภาพดี และซ่อมบำรุงได้สะดวก (ไม่ควรเอียง Strainer)

รูปที่ 7 หน้าแปลน PVC ควรเจาะรูและใส่ Bolt ให้ครบตามหน้าแปลนเหล็ก

รูปที่ 7 เจาะรูหน้าแปลน PVC และใส่ Bolt ครบแล้ว และควรใช้ Bolts ยาวเท่าๆ กัน แต่หัว Bolt ต้องอยู่ฝั่งวาล์ว รวมทั้งประเก็นที่ใช้ต้องเป็นแบบ Ring Gasket

รูปที่ 8 หน้าแปลน PVC ควรเจาะรูและใส่ Bolt ให้ครบตามหน้าแปลนเหล็ก

รูปที่ 8 เจาะรูหน้าแปลน PVC และใส่ Bolt ครบแล้วและควรใช้ Bolts ยาวเท่าๆ กัน แต่หัว Bolt ต้องอยู่ฝั่งวาล์ว รวมทั้งประเก็นที่ใช้ต้องเป็นแบบ Ring Gasket

รูปที่ 9 หน้าแปลน PVC ควรเจาะรูและใส่ Bolt ให้ครบตามหน้าแปลนเหล็ก

รูปที่ 9 เจาะรูหน้าแปลน PVC และใส่ Bolt ครบแล้วและควรใช้ Bolts ยาวเท่าๆ กัน แต่หัว Bolt ต้องอยู่ฝั่งวาล์ว รวมทั้งประเก็นที่ใช้ต้องเป็นแบบ Ring Gasket

รูปที่ 10 ติดตั้งวาล์วแบบนี้จะซ่อมบำรุงค่อนข้างลำบาก

รูปที่ 10 งานติดตั้งที่ดี สะดวกเวลาใช้งานหรือซ่อมบำรุง

รูปที่ 11 ควรติดตั้ง Valve Tag ไว้ที่ Valveหรืออุปกรณ์ต่างๆ เพื่อสะดวกในการซ่อมบำรุง

รูปที่ 11 ติดตั้ง Valve Tag แล้ว โดยกำหนดดังนี้ชื่ออาคาร -ชื่อย่ออุปกรณ์ - สถานะ N.O. (Normally Open) หรือ N.C. (Normally Closed) ในรูปการติดตั้ง Bolt, Nut และ Washer ไม่ถูกต้อง

รูปที่ 12 ควรติดตั้ง Valve Tag ไว้ที่ Valveหรืออุปกรณ์ต่างๆ เพื่อสะดวกในการซ่อมบำรุง

รูปที่ 12 ติดตั้ง Valve Tag แล้ว โดยกำหนดดังนี้ชื่ออาคาร -ชื่อย่ออุปกรณ์ - สถานะ N.O. (Normally Open) หรือ N.C. (Normally Closed) ในรูปการติดตั้ง Butterfly Valve ไม่ถูกต้อง

รูปที่ 13 การเทคอนกรีตพื้นวางบนดินอมท่องานระบบเช่นนี้ท่อจะเสียหายเมื่อเกิด Defferential Settlement

รูปที่ 13 งานติดตั้งที่ถูกต้อง และป้องกันท่อเสียหายเมื่อเกิด Defferential Settlement

รูปที่ 14 ไม่มีการติดตั้ง Flexible Connector ที่ Main CW. ในตำแหน่งเข้าสู่อาคาร และท่อจะเสียหายเมื่อเกิด Deff. Settlement
รูปที่ 14 ติดตั้ง Flexible Connection ที่ Main CW. ก่อนเข้าสู่ตัวอาคาร และป้องกัน Defferential Settlement ได้ดีและถูกต้องที่สุดควรติดตั้ง Flexible Connector ในแนวดิ่งพร้อมด้วยท่อสั้น

รูปที่ 15 ท่อน้ำที่ฝังใต้ดิน ควรติดตั้งให้เรียบร้อยก่อนกลบดิน โดยต้องตรวจสอบและอนุมัติ Shop Drawing ก่อนเสมอ

รูปที่ 15 งานติดตั้งที่มีคุณภาพดี

รูปที่ 16 ไม่ควรยึด Support กับพื้นคสล. โดยตรงเพราะจะเกิดสนิมได้ง่าย อายุการใช้งานสั้น

รูปที่ 16 Support รับท่อ ที่ดีและสะดวกในการทำงานก่อนทคอนกรีตรองใต้ฐานในขั้นตอนสุดท้าย

รูปที่ 17 ควรดุ้งเหล็กหลบ Sleeve ท่อเพื่อหลีกเลี่ยงการตัดเหล็กและไม่ควรใช้กระดาษอุดไว้แบบนี้

รูปที่ 17 การวาง Sleeve ท่อระบายน้ำหรือท่อน้ำทิ้งที่ดี ซึ่งไม่มีการตัดเหล็กเส้นเลย และใช้ทรายอุดด้านใน
รูปที่ 18 ควรเคลียร์ตำแหน่งท่อให้สอดคล้องกับ Pattern กระเบื้องพื้น และตำแหน่ง Floor Drain จะต้องระบายน้ำได้

รูปที่ 18 เคลียร์ตำแหน่งท่อสอดคล้องกับ Pattern กระเบื้องและสามารถระบายน้ำได้สะดวก

รูปที่ 19 ไม่ควรใช้ท่อ PVC ติดตั้งกลางแดดเช่นนี้ เพราะนานๆไปท่อจะกรอบ เปรอะ และชำรุดเสียหาย (อายุการใช้งานสั้น)

รูปที่ 19 ทาสีท่อ PVC หรือสร้างหลังคาคลุม
รูปที่ 20 ควรติดตั้ง Flexible Connector ในท่อที่ติดตั้งผ่านรอยต่ออาคาร เพื่อป้องกันท่อเสียหายเมื่อเกิด Diff. Settlement

รูปที่ 20 ติดตั้ง Support ชนิดปรับระดับได้และจะต้องติดตั้งด้านที่เป็นโครงสร้างไม่มีเสาเข็มรองรับ

รูปที่ 21 ในที่โล่งแจ้ง หากยึด Support กับพื้นโดยตรงจะทำให้เป็นสนิมและผุกร่อนได้ง่าย

รูปที่ 21 ควรเทเป็นแท่นคสล. (เต้าปูน) จะเหมาะสมกว่าดีที่สุดคือติดตั้งตามรูปเล็ก ซึ่งตีนเป็ดติดตั้งอยู่ด้านบนของเต้าปูน

รูปที่ 22 ติดตั้งแบบนี้จะถอด Strainer ได้ยากมากหรืออาจถอดไม่ได้เลย

รูปที่ 22 การติดตั้งที่ดี และถูกต้อง แต่ควรใช้ Support แบบเป็นขาเดี่ยวยึดใต้แนวท่อจะดีกว่า

รูปที่ 23 ติดตั้งท่อ โดยไม่ตรวจสอบแนวผนัง
รูปที่ 23 แก้ไขโดยการต่อท่อให้พ้นแนวผนัง แต่ควรให้มีระยะห่างกว่านี้ จะได้ทาสีผนังได้สะดวก
 
                       การติดตั้ง Floor Drain / Clean-Out ในห้องสุขา
Sheet No. : TR-SN-06
   April 09 
 


ในการติดตั้ง Floor Drain / Clean-Out ในห้องสุขาส่วนใหญ่จะต้องทำการติดตั้งบนพื้นคอนกรีตก่อนเทปูน โดยที่อาจยังไม่ได้ Combined กับแบบงานติดตั้งกระเบื้อง ทั้งนี้เนื่องจากขั้นตอนการอนุมัติวัสดุกระเบื้อง และแบบต้องใช้เวลาค่อนข้างนาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานบางโครงการ เจ้าของโครงการ และ/หรือ สถาปนิกจะให้ความสำคัญกับตำแหน่งอุปกรณ์ดังกล่าวเป็นอย่างมาก ซึ่งอาจจะสั่งการให้รื้อทิ้งทำใหม่ เป็นเหตุให้เสียเวลาและเสียค่าใช้จ่ายสูงในการแก้ไข มิหนำซ้ำอาจเกิดการรั่วซึมได้ง่าย ดังนั้นการป้องกันปัญหาดังกล่าวอาจดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้ :-

 
     
     
รูป : การวาง Block-Out โดยไม่ตัดเหล็กเสริมพื้นโครงสร้าง
  1. ตรวจสอบกำหนดการตั้งไม้แบบ และผูกเหล็กของพื้นที่บริเวณห้องสุขาแต่เนิ่นๆ
  2. ตรวจสอบตำแหน่ง Floor Drain / Clean-Out จากแบบ Contract Drawing เพื่อกำหนดคร่าวๆ ในแบบโครงสร้างของพื้นที่ดังกล่าว
  3. ให้ผู้รับเหมางานโครงสร้างทำการ Block บริเวณที่จะติดตั้ง Floor Drain / Clean-Out ด้วยวัสดุที่เหมาะสม โดยไม่ต้องตัดเหล็กโครงสร้างออก (ดูรูปข้างต้น)
  4. เมื่อแบบ Shop Drawing การติดตั้งกระเบื้องได้รับการอนุมัติ ผู้ควบคุมงานจึงสั่งการให้ผู้รับเหมางานระบบสุขาภิบาลขอแบบดังกล่าวเพื่อนำไป Plot ตำแหน่งอุปกรณ์ Floor Drain / Clean-Out ที่แน่นอน โดยมีจุดอ้างอิงในการติดตั้งที่ชัดเจน จะได้ไม่เกิดผิดพลาดและไม่สวยงามภายหลัง
  5. ขณะผู้รับเหมางานระบบสุขาภิบาลจะทำการติดตั้ง Floor Drain / Clean-Out จึงค่อยให้ตัดเหล็กโครงสร้างตามตำแหน่ง เพื่อติดตั้งและเทปูน (โดยผสมวัสดุกันซึมด้วย) ปิดภายหลัง
  6. ขณะเทปูนให้อุด Floor Drain / Clean-Out ด้วยกระดาษถุงปูนหรืออื่นๆ เพื่อมิให้เศษปูนเกาะภายในอุปกรณ์ด้วย
  7. ฝา Floor Drain / Clean-Out ควรติดตั้งภายหลัง หรือปิดคาดด้วยเทปกระดาษให้แน่นหนา เพื่อรักษาความสวยงาม
 
     
     
รูป : การติดตั้ง Floor Drain / Clean-Out

ข้อควรระวังอื่นๆ

  1. หากเป็นกระเบื้องขนาดเล็ก ควรให้ตำแหน่ง Floor Drain / Clean-Out อยู่ระหว่างรอยต่อของกระเบื้องทั้ง 4 แผ่น แต่ถ้าเป็นกระเบื้องขนาดใหญ่ (300 มม. x 300 มม. ขึ้นไป) ตำแหน่งอุปกรณ์อาจอยู่บริเวณกลางกระเบื้อง หรือรอยต่อของกระเบื้อง (2 แผ่น หรือ 4 แผ่น) ก็ได้ แต่หากอยู่บริเวณกลางกระเบื้อง การไล่ Slope ของพื้นอาจทำได้ยากขึ้น
  2. ตำแหน่ง Floor Drain ควรอยู่ในตำแหน่งใกล้ผนัง ไม่ควรไว้กลางห้อง เพราะการปรับ Slope ของพื้นทำได้ยากมาก
  3. ตำแหน่ง Floor Clean-Out ห้ามวางอยู่ในตำแหน่งใต้ผนังโดยเด็ดขาด ไม่จะเป็นผนังอิฐก่อหรือผนังเบากั้นระหว่างห้องส้วม เพราะจะทำการ Service ไม่ได้ภายหลัง
  4. ควรหลีกเลี่ยงการวางตำแหน่ง Floor Clean-Out นอกห้องสุขา
  5. ตำแหน่ง Clean-Out ในเส้นท่อที่อยู่ใต้พื้นห้องสุขา อย่าวางใกล้ผนังหรือคาน เพราะจะใช้ Service ไม่ได้
  6. ในกรณีที่เป็นอาคารชุด ควรหลีกเลี่ยงการติดตั้ง Clean-Out ในเส้นท่อ เพราะหากต้องทำการ Service จะต้องขออนุญาตเจ้าของห้อง ใต้ห้องสุขา ซึ่งอาจยุ่งยากและไม่ได้รับความสะดวกในการ Service

 

 
                       การใช้ Stub End & Lap Joint Flange
Sheet No. : TR-SN-05
   December 08  
 


การต่อท่อ PVC กับอุปกรณ์จำพวก Valve หรือเครื่องจักรที่เป็นแบบหน้าแปลน ผู้รับเหมาจำเป็นต้องใช้หน้าแปลนชนิด Stub End & Lap Joint Flange เชื่อมต่อกับท่อ PVC ก่อน แล้วจึงไปยึดติดกับ Valve หรือเครื่องจักร


รูปที่ 1 : Stub End and Lap Joint Flange ที่ทำจากวัสดุ PVC

ปัญหาที่เกิดขึ้น (ดูรูปที่ 1) คือ หากใช้หน้าแปลนที่ทำจากวัสดุ PVC ไปขันยึดติดกับหน้าแปลนของ Valve หรือเครื่องจักรจะทำให้หน้าแปลน PVC โก่งงอจนถึงแตกร้าวได้ โดยเฉพาะหน้าแปลนหน้ายก (Raise Face Flange) ดังนั้น เราจะต้องสั่งการให้ผู้รับเหมาใช้หน้าแปลนที่ทำจากวัสดุ Carbon Steel ในการขันยึดติดกับหน้าแปลนของ Valve หรือเครื่องจักร (ดูรูปที่ 2) เพื่อจะได้มีความแข็งแรงยิ่งขึ้น โดยไม่เกิดอาการโก่งงอหรือแตกร้าว


รูปที่ 2 : Stub End and Lap Joint Flange ที่ทำจากวัสดุ Carbon Steel

อนึ่งประเก็น (Gasket) ที่ใช้กับหน้าแปลนแบบหน้ายก จะต้องมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากับส่วนที่ยกของหน้าแปลนเท่านั้น ห้ามใช้ประเก็นที่มีขนาดเท่ากับ Outside Diameter ของหน้าแปลนโดยเด็ดขาด เพราะจะดูไม่เรียบร้อย (เปรียบเทียบดูรูที่ 1 และรูปที่ 2)

 
                       ข้อควรรู้เกี่ยวกับการใช้วัสดุพันเกลียวท่อ (ปรับปรุงครั้งที่ 1)
Sheet No. : TR-SN-04
   September 07 
 


ในการต่อท่อแบบเกลียวในระบบประปา ช่างประปาจะต้องใช้วัสดุ Pipe Joint Compound พันเกลียวท่อก่อนจึงจะขันข้อต่อ (Fitting) เข้าไปในท่อ โดยปกติมักจะใช้เชือกปอ และ Permatex ในการพันเกลียว เนื่องจากมีความแข็งแรง และทนแรงดันสูงได้ดี แต่อย่างไรก็ตาม การใช้วัสดุประเภทนี้มีข้อเสีย คือ จะมีสารปนเปื้อน และมีกลิ่นเหม็น ดังนั้น หากเป็นท่อน้ำที่ใช้ในการบริโภคควรแนะนำให้ผู้รับเหมาใช้วัสดุ Pipe Joint Compound เป็นแบบ Teflon Tape เพื่อป้องกันปัญหาเรื่องการปนเปื้อน และมีกลิ่นเหม็นภายหลังจากการใช้งานแล้ว การพัน Teflon Tape ต้องพันที่เกลียวตัวผู้ และจะต้องพันในทิศทางตามเข็มนาฬิกา เมื่อมองเข้าไปในทางปากท่อเสมอ เพื่อว่าเวลาขันข้อต่อ Teflon Tape จะได้ไม่หลุดจากเกลียวท่อ

 
                                   การติดตั้ง Gate Valve ในฝ้าของห้อง Toilet
Sheet No. : TR-SN-03 
   January 07 
 

 

Gate Valve ที่ติดตั้งในท่อน้ำดี (Cold Water Supply) ที่อยู่ในฝ้าเพดานห้อง Toilet ทำหน้าที่เป็น Isolating Valve เพื่อปิด - เปิด ในกรณีต้องการ Service สุขภัณฑ์ในห้อง Toilet นั้น หากติดตั้งในท่อแนวนอน ควรหันพวงมาลัยวาล์ว (Wheel) ทำมุม 45° กับแนวดิ่ง เพื่อความสะดวกในการปิด - เปิด (ดูรูปประกอบ) แต่ไม่ควรให้อยู่ในแนวดิ่งด้านล่างของท่อ เพราะอาจมีตะกอนไปติดค้างอยู่ในก้าน Valve Disc ทำให้ปิด - เปิดลำบาก อย่างไรก็ตามหากจะติดตั้งโดยให้พวงมาลัยวาล์ว (Wheel) อยู่ในแนวดิ่งด้านบนของท่อ ก็สามารถทำได้ แต่การปิด - เปิดอาจยุ่งยากกว่า เพราะบริเวณนี้ ในฝ้าเพดานอาจมีความสว่างไม่เพียงพอ และมีท่ออื่นๆ เต็มไปหมด นอกจากนี้ต้องพ่นสีสัญญลักษณ์แสดงชนิด และทิศทางของ Flow ให้อยู่ใกล้ Isolating Valve ด้วย จะได้ง่ายต่อการสังเกต และไม่ผิดพลาดในการปิด - เปิดวาล์วผิดท่อด้วย

Top  | มีข้อสงสัยหรือข้อคิดเห็นสามารถเข้าไป post ที่ web board


 
                             การติดตั้ง Butterfly Valve ให้ถูกต้อง (ปรับปรุงครั้งที่ 1)
Sheet No. : TR-SN-02 
   September 07 
 


          

  1. ห้ามใส่ประเก็น (Gasket) หรือ Sealing Compound ทุกชนิดตรงหน้าแปลนกับตัววาล์ว
  2. ในระหว่างการเชื่อมหน้าแปลนเข้ากับท่อ ต้องถอดวาล์วออกเสียก่อน มิฉะนั้นความร้อนที่เกิดจากการเชื่อมจะทำให้ Valve Seat เสียหายได้
  3. ก่อนใส่ตัว Valve เข้าไปในช่องว่างระหว่างหน้าแปลน ให้หมุน Valve Disc อยู่ในตำแหน่ง Semi-Closed Position เพื่อป้องกันมิให้ Valve Seat ปลิ้น ซึ่งอาจจะฉีกขาดทำให้วาล์วรั่วได้
  4. ก่อนทำการขัน Bolt ยึดระหว่างหน้าแปลน ต้องหมุน Valve Disc ให้อยู่ในตำแหน่ง Fully-Open และหน้าแปลนทั้ง 2 ฝั่งต้องปรับ Alignment ให้ตรงกัน
  5. การติดตั้ง Butterfly Valve ในแนวนอนต้องปฏิบัติดังนี้
    • แกนของ Valve Disc (Valve Shaft) ต้องอยู่ในแนวนอน
    • ในขณะที่เริ่มเปิด Butterfly Valve นั้น ด้านครึ่งล่างของ Valve Disc ต้องหันไปด้าน Downstream (ตามน้ำ) เสมอ เพื่อให้น้ำช่วยพัดพาเอา Slag หรือตะกอนไปได้สะดวก
    • Butterfly Valve ชนิด Lever Operator ( ขนาดน้อยกว่า 6” Ø หรือ 150 mm. Ø) เมื่อเวลาเปิดสุดก้าน Lever ต้องอยู่ในแนวนอนเสมอ และส่วนหัวของก้าน Lever ต้องหันไปตาม Flow (ดูรูปประกอบ)

     

ส่วน Butterfly Valve ชนิด Gear Operator (ขนาดมากกว่าเท่ากับ 6 ” Ø หรือ 150 mm. Ø ) ให้หันพวงมาลัยลงด้านล่าง เพื่อง่ายต่อการ Service ( ดูรูปประกอบ) รวมทั้งลูกศรแสดงทิศทางของ Flow (ดูรูปประกอบ)

6.    ไม่ควรใช้ Butterfly Valve สำหรับท่อ Waste หรือ ท่อ Soil ในระบบสุขาภิบาล เพราะอาจทำให้ท่อตันได้ง่าย
       เนื่องจากตะกอน หรือสิ่งปฏิกูลที่มากับน้ำอาจจะมาติดค้างอยู่ที่ก้าน Valve Disc ควรใช้เป็น Gate Valve จะดีกว่า
7.    ในกรณีใช้ Butterfly Valve แบบ Wafer เป็น Drainage Valve หรือเป็น Isolating Valve สำหรับเครื่องจักรที่ยังไม่ได้
       ติดตั้ง (For Future Main Equipment) ต้องมีหน้าแปลนเพิ่มขึ้นอีก 1 ตัว แล้วจึงติดตั้งหน้าแปลนบอด (Blind Flange)
       ปิดปลายอีกตัวหนึ่ง มิฉะนั้นเวลาถอดหน้าแปลนบอดออก ตัว Butterfly Valve จะหลุดออกมาด้วย (ดูรูปประกอบ)

8.    บริเวณที่ ห้ามใช้ Butterfly Valve แทน Gate Valve อีกจุดหนึ่ง คือ ทางด้าน Suction ของ Fire Pump หรือ Jocky
       Pump ของระบบป้องกันอัคคีภัยตาม Code ของ NFPA ต้องใช้ Gate Valve ชนิด OS & Y (Outside Screw & Yoke)
       เท่านั้น เพื่อเป็นที่สังเกตได้ง่ายว่า Valve ดังกล่าวอยู่ในตำแหน่งปิดหรือเปิด

9.   ขั้นตอนการติดตั้งให้ปฏิบัติดังนี้

วางตัววาล์วให้อยู่ระหว่างหน้าแปลน
จัดวาล์วให้อยู่ในแนวเดียวกันกับหน้าแปลน โดยใช้ Bolts และ Nuts 4 ชุด ขันให้เยื้องกันแบบหลวมๆ
เชื่อมแต้มหน้าแปลนกับท่อเป็นจุดๆ

 

 

   
ถอดตัววาล์วออก
เชื่อมหน้าแปลนกับท่อให้เรียบร้อย
ปล่อยให้เย็นลง และวางตัววาล์วลงไปในระหว่างหน้าแปลน ตัววาล์วต้องสามารถเคลื่อนที่โดยง่ายเพื่อมิให้ Valve Seat เสียหาย ควรขันให้ลิ้นวาล์วเปิดในตำแหน่งครึ่งหนึ่ง

 

 

จัดวาล์วให้ตรงแนวกับหน้าแปลนและยึดล็อคด้วย Bolts และ Nuts 4 ชุด อย่างหลวมๆ
ลองเปิด-ปิดลิ้นวาล์วให้มีความคล่องตัว หลังจากนั้นให้เปิดค้างไว้ที่ตำแหน่งครึ่งหนึ่ง
เริ่มขัน Bolts ให้แน่น โดยให้ขันตัวที่อยู่ตรงข้ามสลับกันไป

 

 

ลองเปิด-ปิดลิ้นวาล์วให้เต็มที่ ข้อควรระวังคือลิ้นวาล์วต้องไม่สัมผัสท่อเมื่อเปิดในตำแหน่ง Fully - Open

 

Top  | มีข้อสงสัยหรือข้อคิดเห็นสามารถเข้าไป post ที่ web board


 
                                  การจัดท่อน้ำใน Riser
Sheet No. : TR-SN-01 
   November 06 
 


          

จากรูปถ่ายข้างต้น แสดงให้เห็นถึงการจัดท่อน้ำใน Riser ซึ่งประกอบด้วยท่อเหล็กอาบสังกะสี ท่อเหล็กดำ และท่อพีวีซี เนื่องจาก Shaft มีขนาดไม่เพียงพอที่จะจัดเป็นแบบท่อเรียงเดี่ยว จึงจำเป็นต้องจัดเป็น 2 ชั้น ซึ่งทางเทคนิคก็เป็นสิ่งที่กระทำได้ แต่สิ่งที่ต้องระมัดระวัง คือไม่ควรจัดท่อพีวีซีอยู่ด้านในของ Shaft ทั้งนี้ เนื่องจากว่าถ้าเปรียบเทียบท่อทั้ง 3 ชนิด จะเห็นได้ว่า การต่อท่อแบบหน้าแปลนของท่อเหล็กอาบสังกะสี และการต่อท่อแบบเชื่อมของท่อเหล็กดำจะมีความแข็งแรงทนทาน และใช้งานได้นานกว่าการต่อท่อแบบทากาวของท่อพีวีซี ซึ่งในอนาคตโอกาสที่ท่อพีวีซีรั่ว (เนื่องจากกาวหมดอายุ) จะมีมากกว่าท่อที่เป็นโลหะทั้ง 2 ชนิด ดังกล่าว ดังนั้นการจัดท่อน้ำใน Riser เราควรคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ดังนี้

  1. ควรตรวจสอบขนาดของช่อง Shaft ทันที โดยกำหนดให้ผู้รับเหมาส่ง Shop Drawing ที่บริเวณ Shaft มาให้พิจารณา หากมีขนาดเล็กเกินไปต้องปรึกษาผู้ออกแบบโครงสร้างเพื่อขอขยาย Shaft เพิ่ม แต่บางครั้งอนุโลมให้จัดท่อแบบ 2 ชั้นได้ โดยควรจัดท่อที่มีวิธีการต่อท่อที่แข็งแรงทนทานไว้ด้านใน Shaft และจัดท่อพีวีซี หรืออื่นๆ ที่คล้ายกันไว้ด้านนอก ในกรณีที่ท่อพีวีซีเกิดรั่วซึมจะสามารถทำการซ่อมแซมได้ง่าย
  2. ปัจจัยที่ควรคำนึงในการจัดช่องว่างระหว่างท่อ ได้แก่

    • วีธีการเชื่อมต่อ ท่อที่ใช้วิธีการต่อโดยการเชื่อมควรมีพื้นที่เชื่อมที่กว้างพอ มิฉะนั้นอาจเกิดรอยรั่วได้ง่าย การต่อท่อแบบหน้าแปลนอาจเป็นวิธีที่ดี แต่ก็สิ้นเปลือง และหากจะใช้ก็ควรใช้กับท่อเหล็กอาบสังกะสี ซึ่งสามารถทาสีป้องกันสนิมภายในท่อก่อนประกอบท่อได้ การต่อท่อแบบหน้าแปลนควรเผื่อระยะหน้าแปลนไว้สำหรับขัน Bolts กับ Nuts ด้วย ในกรณีที่ต่อหน้าแปลนหลายท่อติดกัน ก็ไม่จำเป็นต้องให้หน้าแปลนอยู่ในแนวเดียวกัน เพราะจะเปลืองเนื้อที่ใน Shaft โดยใช่เหตุ
    • ฉนวนหุ้มท่อ เราควรคำนึงถึงพื้นที่ที่ต้องการในการหุ้มฉนวน และ Jacket (ถ้ามี) ด้วย ทางที่ดีควรกำหนดให้ผู้รับเหมาทำการเชื่อมต่อท่อ ทดสอบรอยเชื่อม และหุ้มฉนวน และ Jacket (ถ้ามี) ก่อนก่อผนังรอบ Shaft แต่ต้องกำชับให้ผู้รับเหมาทำการคลุมท่อด้วยผ้าพลาสติค หลังจากการหุ้มฉนวนแล้ว เพื่อป้องกันมิให้ชำรุดเสียหายเนื่องจากการก่อผนังซึ่งส่วนใหญ่เป็นอิฐ หรืออาจเป็น Shear Wall ก็ได้
    • วิธีการยึดท่อใน Shaft จะใช้วิธีทำ Support ไว้ที่พื้น หรือผนัง Shear Wall ก็แล้วแต่กรณี แต่ต้องสรุปกับผู้รับเหมาก่อนเสมอ โดยเฉพาะการยึดท่อน้ำเย็น / น้ำร้อนที่ต้องทำการหุ้มฉนวนในภายหลังด้วย

       3.   การก่อผนังรอบ Shaft หากเป็นผนังอิฐก่อควรให้ผู้รับเหมา
            โครงสร้างทำ Curb คอนกรีตรอบ Shaft ด้วย โดยกำหนด
            ความกว้าง และสูงของ Curb ประมาณ 100 x 100
            (ม.ม. x ม.ม.)
       4.  ท่อทุกเส้นที่อยู่ในช่อง Shaft ต้องทำการคล้อง Sleeve โดย
           ให้ Sleeve มีความสูงเท่ากับความหนาพื้นสุดท้าย
           (Finished Floor) บวกอีก 40 ม.ม. เป็นอย่างน้อย ซึ่งสุดท้าย
           ผู้รับเหมาจะต้องทำการ Seal โดยรอบด้วยวัสดุ Fire Barrier
           ซึ่งหากไม่คล้อง Sleeve ไว้จะต้องทำการ Seal เต็มช่อง
           Shaft ซึ่งเป็นการสิ้นเปลือง และไม่ได้ประโยชน์
       5.  บริเวณช่วง Shaft ควรเป็นพื้น Slab แบบหล่อคอนกรีตกับที่
            ห้ามเป็น Slab แบบ Post Tension เพราะยุ่งยากมาก และ
            หากเป็นไปได้ในกรณีที่เป็นพื้น Slab แบบหล่อคอนกรีตกับที่
            ควรกำชับผู้รับเหมาว่า ให้คงเหล็กโครงสร้างไว้ โดยไม่ต้อง
            ตัดเหล็กตามขนาดช่อง Shaft เมื่อผู้รับเหมางานระบบมาวาง
            ท่อ จึงค่อยตัดเหล็กโครงสร้าง เพื่อยึด Sleeve และใช้เหล็ก
            โครงสร้างที่เหลือในช่อง Shaft สำหรับเทคอนกรีตปิดช่อง             Shaft ต่อไป

Top  | มีข้อสงสัยหรือข้อคิดเห็นสามารถเข้าไป post ที่ web board